เปิดศูนย์รังสีร่วมรักษา โรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค

แชร์ข่าว

เปิดศูนย์รังสีร่วมรักษา โรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค ให้การดูแลได้ทุกระยะอย่างครบวงจร

วันที่ 19 กุมภาพันธ์​ 2564 ที่โรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค จังหวัดเชียงราย นายแพทย์วิฑูรย์ ยงเมธาวุฒิ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลฯ ได้จัดพิธีเปิดศูนย์รังสีร่วมรักษา เพื่อแนะนำ นายแพทย์ณัฐชัย เครือจักร รังสีแพทย์ และแถลงข่าวถึงความสำคัญในการเปิดศูนย์รังสีร่วมรักษาในครั้งนี้  โดยมีการแนะนำ การรักษาโดยใช้เครื่องมือและนวัตกรรมใหม่ ในการรักษา พร้อมสัมภาษณ์ผู้ป่วยที่มารับบริการที่ศูนย์ฯ ด้วยการใช้เทคโนโลยีให้ในการรักษาและสามารถรักษาให้หายจากอาการป่วยดังกล่าว

นายแพทย์วิฑูรย์ ยงเมธาวุฒิ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลฯ ได้ กล่าวว่า  โรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค ได้ตระหนักถึงเรื่องสุขภาพของพี่น้องประชาชนมาโดยตลอด เมื่อมีวิทยาการและ มีนวัตกรรมใหม่ที่สามารถนำมาช่วยชีวิต หรือทำให้คุณภาพชีวิตของทุกท่านดีขึ้น เราก็จะไม่รอช้า เราจึงจัดตั้งศูนย์รังสีร่วมรักษา โรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค ที่พร้อมจะนำเทคโนโลยีใหม่มาสู่ชาวเชียงรายและ พี่น้องจังหวัดใกล้เคียง ทำให้ท่านไม่ต้องเดินทาง ไปรักษาเป็นระยะทางไกล สามารถให้บริการกับผู้ป่วยโรคต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ โดยจะมีการทำงานร่วมกับทีมแพทย์เฉพาะทางและทีมงานผู้เชี่ยวชาญ 

ในการยกระดับการรักษาขึ้นมา ให้ดูแลได้ทุกระยะอย่างครบวงจร และพร้อมที่จะทำการรักษาด้วยความมีมาตรฐานสูงสุด อย่างปลอดภัย ขอขอบคุณที่ทุกท่านให้เกียรติมาร่วมในพิธีเปิดศูนย์รังสีร่วมรักษา ของเราในวันนี้ และท้ายสุดนี้เราสัญญาว่า เราพร้อมที่จะดูแลเรื่องสุขภาพให้กับพี่น้องชาวเชียงรายอย่างดีที่สุด ด้วยความมีมาตรฐาน ที่ได้รับการรับรองจากสถาบันรับรองคุณภาพทั้งในประเทศและต่างประเทศ ให้ทุกท่านได้มีสุขภาพที่ดีมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป


พร้อมกันนี้ ประกอบพิธีเปิดศูนย์รังสีร่วมรักษาอย่างเป็นทางการ ณ ศูนย์รังสีร่วมรักษา ชั้น 2 อาคารหมอกัมพล  โรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค 


ศูนย์รังสีร่วมรักษา โรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค  พัฒนาวิธีการที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วย และสามารถนำไปใช้ได้กับโรคที่เกิดกับอวัยวะเกือบทุกระบบ ทั้งในด้านการตรวจวินิจฉัยและการรักษา  ที่เกี่ยวข้องกับระบบโรคต่างๆในร่างกายคนเรา โดยอาศัยเครื่องเอกซเรย์ชนิดพิเศษ ร่วมกับอุปกรณ์ขนาดเล็กที่สามารถเข้าไปรักษาตัวโรค ในร่างกายผู้ป่วยโดยตรง ทำให้ได้ประสิทธิภาพเทียบเคียงการผ่าตัดในหลายๆโรค  โดยทำให้มีแผลเพียงเล็กน้อยและฟื้นตัวเร็ว


ซึ่ง ศูนย์รังสีร่วมรักษา โรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค นำเทคโนโลยีใหม่มาสู่ชาวเชียงรายและจังหวัดใกล้เคียง ทำให้ไม่ต้องเดินทาง ไปรักษาเป็นระยะทางไกล สามารถให้บริการกับผู้ป่วยโรคต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ เราทำงานร่วมกับทีมแพทย์เฉพาะทางและทีมงานผู้เชี่ยวชาญ ในการยกระดับการรักษาขึ้นมา ให้ดูแลได้ทุกระยะอย่างครบวงจร และพร้อมที่จะทำการรักษาด้วยความมีมาตรฐานสูงสุด อย่างปลอดภัย ด้วยความใส่ใจ ดูแลคุณ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ข้อมูลศูนย์รังสีร่วมรักษา (Interventional Radiology Center)

โรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค เชียงราย ได้นำเทคโนโลยีในการรักษาแบบใหม่ที่ใช้รักษาโรคโดยไม่ต้องผ่าตัดด้วย เครื่องเอกซเรย์ตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคหลอดเลือดชนิด 2 ระนาบ (Bi–Plane Digital Subtraction Angiography)  ซึ่งเป็นเครื่องที่ทันสมัยที่สุด และเครื่องตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasonography) และถือเป็นศูนย์รังสีร่วมรักษาแบบครบวงจรแห่งแรกในจังหวัดเชียงราย


การตรวจทางรังสีร่วมรักษาด้วยเครื่อง Bi – Plane Digital Subtraction Angiography และ Ultrasound ถือเป็นหัตถการที่มีมาตรฐานในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคซึ่งให้ความแม่นยำสูง สามารถทำให้แพทย์เห็นถึงพยาธิสภาพของร่างกายผู้ป่วยและอาศัยความสามารถของเครื่องมือนำอุปกรณ์ขนาดเล็ก เช่น สายสวนหลอดเลือด (Catheter, Micro catheter) เข็มเจาะชิ้นเนื้อ (Biopsy Needle) ขดลวดและบอลลูน (Stent, Coil, Balloon) ยาเคมีบำบัด (Chemo Therapy) กาว (Glue) ตลอดจนอุปกรณ์พิเศษอื่นๆ เข้าไปทำการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคด้วยหัตถการทางรังสีร่วมรักษา (Intervention) ได้ โดยไม่ต้องผ่าตัด ถือเป็นวิธีที่ทันสมัยในวงการแพทย์ปัจจุบัน ส่งผลให้ผู้ป่วย เจ็บน้อยกว่าระยะพักฟื้นไม่นานแผลเล็กกว่าและภาวะแทรกซ้อนต่างน้อยกว่า

ศูนย์รังสีร่วมรักษา โรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค เชียงราย รองรับการทำหัตถการ ดังต่อไปนี้
1. ระบบหลอดเลือดของลำตัว (Body Vascular)
2. ระบบนอกเหนือจากหลอดเลือด (Non – vascular)
3. กลุ่มโรคมะเร็งตับ (HCC Treatment)

Body Vascular Intervention

  1. การฉีดสารทึบรังสี เพื่อตรวจดูเส้นเลือด (Diagnostic Angiogram)  ในกรณีที่มีความผิดปกติของเส้นเลือด เช่น เส้นเลือดตีบ (Stenosis) เส้นเลือดอุดตัน (Occlusion) เส้นเลือดโป่งพอง (Aneurysm) เป็นต้น
  2. การฉีดสารเข้าไปอุดเส้นเลือด (Embolization) เพื่อห้ามเลือด ในกรณีที่มีเลือดออกมาก เช่น ไอเป็นเลือด(Hemoptysis)  อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด (GI bleeding)  เลือดออกในอุ้งเชิงกราน (Pelvic Bleeding) เป็นต้น
  3. การใช้บอลลูน (Balloon Angioplasty) หรือท่อสังเคราะห์ (Stent Placement) เข้าไปถ่างขยายเส้นเลือด ในกรณีที่เส้นเลือดตีบ (Stenosis) เป็นต้น
  4. การใส่สายสวนทางเส้นเลือดดำส่วนกลาง (Central Line) ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับยาเคมีบำบัดประจำหรือหาเส้นเลือดดำส่วนปลายยาก เช่น PICC Line, Double Lumen, PERM Cath, Port-A Cath เป็นต้น

Non – Vascular Intervention 

  1. การตัดชิ้นเนื้อ (Ultrasound or CT Guided Biopsy) หรือใช้เข็มดูดมาตรวจ (Fine Needle Aspiration) ในโรคที่อยู่ในส่วนลึกของร่างกาย เพื่อการวินิจฉัยและสามารถให้การรักษาโรคได้ เช่น ก้อนเนื้อ (Tumor)  ถุงน้ำ (Cyst) หนอง (Abscess) เป็นต้น
  2. การใส่สายระบายหนองหรือน้ำ (Percutaneous Catheter Drainage) ในส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น 

– หนองหรือน้ำในช่องปอด (Empyema thoracis, Pleural Effusion)

– หนองในช่องท้อง เช่น หนองในตับ หรือน้ำในช่องท้อง (Intraabdominal abscess e.g. liver abscess, ascites)

  1. การใส่สายระบายน้ำดี (Percutaneous Transhepatic Biliary Drainage) ในกรณีที่มีการอุดตันของท่อน้ำดี

HCC Treatment

เป็นการรักษาตามระยะ และลักษณะของก้อนเนื้องอก ซึ่งรังสีแพทย์ร่วมรักษาจะเป็นผู้ประเมินแนวทางการรักษา เช่น

1. การรักษามะเร็งตับผ่านผิวหนังด้วยการสอดเข็มเข้าสู่ก้อนเนื้องอกและทำลายด้วยคลื่นความร้อน (Radiofrequency Ablation หรือ Microwave Ablation) 

2. การรักษามะเร็งตับผ่านผิวหนังด้วยการฉีดแอลกอฮอล์บริสุทธิ์เข้าสู่ก้อนเนื้องอก (Percutaneous Ethanol Injection Therapy)

3. การรักษามะเร็งตับผ่านทางหลอดเลือดแดง โดยใช้สายสวนหลอดเลือด และอุดกั้นหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงก้อนเนื้องอก ร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัดเฉพาะที่ (TACE : Transarterial Chemoembolization) …

พื้นที่โฆษณาประชาสัมพันธ์


ข่าวอื่นๆ