นำร่องปลูกกัญชงพื้นที่จังหวัดเชียงราย ก่อนขยายไปทั่วภาคเหนือ หวังสร้างรายได้ให้ชาวบ้าน หันมาปลูกแทนข้าวโพด ลดการเผา ลดหมอกควัน
18 กันยายน 2564 นายวีรชาติ เขื่อนรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิดการปลูกกัญชงต้นแรกใน จ.เชียงราย โดยมี นายแพทย์เกรียงศักดิ์ หลิวจันทร์พัฒนา ประธานบริษัทไทยเฮมพ์ เวลเนส จำกัด ดร.เสฐียรพงศ์ แก้วสด ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทฯ พล.อ.สุทัศน์ จารุมณี และ ดร.เพิ่มศักดิ์ สุภาพรเหมินทร์ กรรมการมูลนิธิวนเกษตรอินทรีย์ นายยืนยง โอภากุล หรือ “แอ๊ด คาราบาว” ศิลปินเพลงเพื่อชีวิตและศิลปินแหงชาติ และผู้บริหารในเครือคาราบาวกรุ๊ป รวมทั้งเอกชนที่เกี่ยวข้องและเกษตรกรเข้าร่วม ณ พื้นที่หมู่ 3 ต.ดงมะดะ อ.แม่ลาว จ.เชียงราย
สำหรับแปลงกัญชงแปลงแรกดังกล่าวมีจำนวน 5 ไร่ ได้รับใบอนุญาตปลูกกัญชงแล้ว โดยรายแรกเป็นแปลงของนายศิริชัย ใจแปง ตามเลขที่ใบอนุญาต ชร 171/2562 (ป) พื้นที่หมู่ 3 ต.ดงมะดะ โดยใช้เวลาเพาะปลูก 4 เดือนจึงเก็บผลิตแลจะส่งจำหน่ายให้บริษัทเพื่อนำไปสกัดสาร CBD และส่งให้กับเอกชนรายต่างๆ ที่ต้องการนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
ทั้งนี้บริษัทมีเป้าหมายเริ่มเก็บผลิตแปลงแรกในเดือน พ.ย.นี้และนำไปสกัดให้ได้ผลผลิตในปี 2565 ชุดแรกนำร่องประมาณ 4.5 ตัน และจำหน่ายให้กับเอกชนที่จะนำไปเป็นผลิตภัณฑ์ตันละประมาณ 100,000-150,000 บาท
โดยนายวีรชาติ กล่าวว่า ภาคเอกชนมีการขับเคลื่อนเชิงรุกที่รวดเร็วและเชื่อว่าการขับเคลื่อนในลักษณะนี้มาถูกทางแล้วซึ่งในนามหน่วยงานภาครัฐก็จะช่วยส่งเสริมให้ได้รับการอำนวยความสะดวก โดยเฉพาะกรณีนี้เป็นการแก้ไขปัญหาความยากจนขณะที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก่อตั้งมาร่วม 125 ปีแต่เกษตรกรไทยก็ยังไม่มีรายได้แบบก้าวกระโดดดังนั้นโครงการนี้จึงถือเป็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์และเป็นต้นแบบเพื่อการนำร่องต่อไป
ทางด้านนายแพทย์เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า พื้นที่ จ.เชียงราย ถือเป็นแห่งแรกที่มีการปักหมุดเพื่อปลูกต้นกัญชงในเชิงพาณิชย์ โดยบริษัทมีแผนจะส่งเสริมการปลูกในช่วงแรก 1,600 ไร่ก่อนจากนั้นภายใน 5 ปี จะเพิ่มให้เป็นประมาณ 100,000 ไร่ ลักษณะเป็นการร่วมกับเกษตรกรแต่รายๆ ละประมาณ 5 ไร่ ซึ่งเกษตรกรสามารถเก็บผลผลิตขายได้ไร่ละ 100,000 บาทต่อปี แต่ละปีจะปลูกได้ 2 ครั้ง จึงนับเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ดี โดยเมื่อเปรียบเทียบมูลค่าผลผลิตกัญชง 1 ไร่เทียบเท่ากับข้าวโพดถึง 100 ไร่ และการปลูกข้าวโพดยังต้องเผาหลังเก็บผลผลิตจนทำให้มีปัญหามลภาวะหมอกควันเป็นประจำทุกปีอีกด้วย ขณะเดียวกันการปลูกกัญชงยังทำให้อย่างยั่งยืนเพราะเกษตรกรจะผลิตเพื่อส่งให้บริษัทที่เป็นผู้สกัดสาร CBD และบริษัทก็ส่งต่อให้กับเอกชนที่นำไปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ต่อไปอย่างยั่งยืน
นายแพทย์เกรียงศักดิ์ กล่าวอีกว่าเป็นที่น่ายินดีว่าพื้นที่ทั่วประเทศไทยสามารถปลูกกัญชงได้ดีโดยเฉพาะภาคเหนือที่มีคุณภาพดินดีอย่างมาก ทั้งนี้หลังจากได้ผลผลิตในปีแรกและปลูกได้ 1,600 ไร่แล้ว ในปีที่ 2 จะเพิ่มการปลูกเป็น 30,000 ไร่ ปี่ 4 เพิ่มเป็น 40,000 ไร่ ปีที่ 4 เพิ่มเป็น 60,000 ไร่ และปีที่ 5 เพิ่มเป็น 100,000 ไร่ดังกล่าว และเมื่อยังไม่มีการอนุญาตให้นำเข้าสารสกัด CBD ทำให้ยังมีโอกาสขยายการปลูกออกไปได้อีกมากโดยเกษตรกรจะมีรายได้อย่างต่อเนื่องด้วยกรณีมีราคารับซื้อที่กิโลกรัมละประมาณ 40 บาท ก็จะมีรายได้ต่อไร่ 50,000 บาทต่อฤดูกาลเพาะปลูกอย่างแน่นอน
ด้าน ดร.เสฐียร์พงศ์ ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงานนี้ “การนำกัญชงมาพลิกฟื้นธุรกิจนั้น เพื่อเริ่มให้กัญชงสามารถเป็นพืชเศรษกิจ เพิ่มรายได้เพื่อให้เกษตรกรจะมีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยการที่ให้กัญชงเข้ามามีบทบาทกระตุ้นเศรษฐกิจเชิงพาณิชย์ เพราะ กัญชงเป็นพืชที่มีดอกและใบที่ผ่านการวิจัยสาร CBD คือสารสกัดที่ดีต่อสุขภาพ เหมาะแก่การนำไปอุปโภคบริโภค และเมล็ดกัญชงสกัดนำไปผสมอาหาร เพื่อให้รสชาติและคุณประโยชน์ต่อร่างกายเพิ่มมากขึ้น จึงมั่นใจว่าการจัดงานปลูกกัญชงต้นแรก 1600 ไร่ ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ครั้งนี้ ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงานของทางบริษัท และ เป็นที่รู้จักในกลุ่มเกษตรกรพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อให้ทราบแนวทางของการผลักดันทางด้านของภาคธุรกิจ เพื่อเตรียมรณรงค์ปลูก ผลิต สกัด และส่งออกทั้งใน และต่างประเทศ ณ ขณะนี้ มูลค่าของความต้องการกัญชง ณ ปัจจุบัน มีความต้องการ สูงถึง 6,500 ตัน/ต่อปี เชื่อมั่นปี 65 ความต้องการจะเพิ่มขึ้นสูงถึง 7,500 ตัน คิดเป็นอย่างแน่นอน อีกทั้งในประเทศไทย ณ ขณะนี้ ภาครัฐ และ ภาคเอกชน ล้วนให้ความสนใจเพราะเป็นอีกพืชเศรษฐกิจที่ จะสามารถช่วยแก้ปัญหาเชิงเศรษฐกิจ พลิกวิกฤต เพิ่มรายได้ ให้กับเหล่าเกษตรกร ให้ได้เปลี่ยนวิถีชีวิต และ ได้รับรายได้เพิ่มมากขึ้น ส่งผลในด้านบวก พร้อมเป็นห่วงโซ่แก่ธุรกิจที่จะเป็นการเติบโตของกัญชงในเชิงพาณิชย์อย่างแน่นอน”
การวิจัยกลุ่มพืชที่นับว่าเป็น กลุ่มพืชทองคำ และได้รับอนุญาตให้เพาะปลูกในปีนี้ ดร.เสฐียร์พงษ์ กล่าวต่อว่า “ณ ตอนนี้กลุ่มพืชที่สามารถอนุญาตให้ทำการเพาะปลูกได้ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว โดยเกษตรกรสามารถทำการเพาะปลูกได้ มี 2 ชนิด คือ 1.กัญชง มี สาร CBD สูง และ ถูกต้องตามกฎหมายรับรอง 2.กระท่อม ภาครัฐให้การปลดล๊อคเมื่อเร็วๆนี้ มีสาร เมตาซานิน สามารถสกัดทำเป็นรูปแบบของเครื่องดื่มได้ ยังต้องวิจัยและศึกษาสารสกัดเพิ่มเติม โดยในเรื่องของการนำไปสกัดเพื่อผลิตเครื่องดื่ม ณ ตอนนี้ ภาคเอกชน ภาคธุรกิจ ที่มีการร่วมเซนต์ MOU เพื่อขอใช้สารสกัดในการผลิตสินค้ากับทางบริษัท ไทย เฮมพ์ เวลเนส จำกัด มี คาราบาวแดง SEPPE เซ็ปเป้ และ กลุ่ม รพ.ยันฮี และโรงงาน OEM ทั้งกลุ่มเครื่องสำอางและอาหารเสริม ณ ตอนนี้ ทางเราจึงเร่งผลิตสารสกัดเพื่อส่งมอบให้กับองค์กรเหล่านี้ รวมทั้งบทบาทของภาครัฐ ที่กำลังร่วม MOU ในบทบาทด้านการวิจัยและศึกษาสารสกัดของกัญชง กับทางบริษัท ไทย เฮมพ์ เวลเนส จำกัด มีมหาวิทยาลัยภาครัฐทางภาคเหนือ ให้ความสนใจกับสารสกัดกัญชง ในด้านของ เคมีพฤกษศาสตร์ เป็นองค์ความรู้ และ นับเป็นการตอบรับว่า กัญชงเป็นอีก 1 พืชเศรษฐกิจที่น่าจับตามอง เพราะมีสารสกัดดีและมีประโยชน์ อีกทั้งการนำไปใช้ สู่กลุ่มธุรกิจกลุ่มอุปโภค บริโภค ยา ปศุสัตว์ ได้เป็นอย่างดี”
ในแง่มุมของการทำวิจัยและพัฒนากัญชง บริษัท ไทย เฮมพ์ เวลเนส จำกัด มีการพัฒนาและวิจัยต่อเนื่อง โดย ทางบริษัทฯ มีแปลงปลูกกัญชงเพื่อวิจัยโดยเฉพาะ จำนวน 53 ไร่ ตั้งอยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนเพื่อทำการศึกษาวิจัยในด้านของ สายพันธ์ การขยายพันธ์ และ เพื่อทำการจดทะเบียนพัฒนาสายพันธ์ของกัญชง
สำหรับผู้ที่สนใจสารสกัดซีบีดี (CBD) และผลิตภัณฑ์จากกัญชง ใบสด ใบแห้ง ใบชา และสนใจร่วมปลูกกัญชง หรือพัฒนาสายพันธุ์ร่วมกับบริษัทฯ สามารถติดต่อกับทางบริษัท ไทย เฮมพ์ เวลเนส จำกัด
CONTACT 0619262466 Line at : @thaihempwellness