23 ปี ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวงเชียงราย

แชร์ข่าว

ครบรอบ 23 ปีท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวงเชียงราย เตรียมการรองรับการเดินทาง สร้างระบบทางขับขนาน พร้อมผลักดันโครงการ ศูนย์ซ่อมบำรุง Maintenance Repair Operation (mro)

1 ตุลาคม 2564 นาวาอากาศตรี ดร.สมชนก เทียมเทียบรัตน์ ผู้อำนวยการ ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย แถลงผลการดำเนินการของ ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย เนื่องในโอกาศ การครบรอบ 23 ปี ในวันที่ 2 ตุลาคม 2564 และการทำหน้าที่ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย คนใหม่ ว่า  

จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด19 ได้ส่งผลกระทบต่อการเดินทางทางอากาศยาน โดยท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย พบว่า เดิมเคยมีผู้โดยสารไปใช้บริการในปี 2562 จำนวน 2,928,878 คน และปี 2563 ได้รับผลกระทบทำให้ลดลงเหลือ 1,513,295 คนนั้น พบว่าตั้งแต่เดือน ม.ค.-ก.ย.2564 มีลดเหลือเพียง 396,965 คน และสายการบินที่เคยให้บริการในปี 2562 วันละกว่า 5 ไฟล์ท และปี 2563 จำนวน 47 ไฟล์ทต่อวัน ก็ลดเหลือพียง 9 ไฟล์ทต่อวัน 

อย่างไรก็ตามหลังจากที่ได้มีการผ่อนปรนมาตรการโดยอนุญาตให้สายการบินกลับมาเปิดเข้า-ออก พื้นที่สีแดงเข้มเฉพาะการเดินทางที่จำเป็น ทำให้ปริมาณการเดินทางของผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย กลับมามีคึกคักขึ้นโดยมีสายการบินให้บริการ 5 สายการบิน คือ ไทยสมายส์ ไทยแอร์เอเชีย นกแอร์ การบินไทย ไลอ้อน์ แอร์ และเวียตเจ็ทแอร์ และมีการทำบินวันละประมาณ 10 ไฟล์ท

นาวาอากาศตรี ดร.สมชนก เทียมเทียบรัตน์ ผู้อำนวยการ ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย กล่าวอีกว่า จากที่มีให้มีการเดินทางทางอากาศยาน เข้ามาจังหวัดเชียงรายได้ ทำให้การเดินทางเริ่มคึกคักมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ทางท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง ยังคงมีการคุมเข้มเรื่องการตรวจโควิด19ก่อนเข้าจังหวัด ตามข้อบังคับต่าง ๆ โดยเฉพาะการฉีดวัควีนครบตามที่กำหนด และมีผลตรวจ 72 ชั่วโมง ซึ่งคาดว่าในช่วงฤดูหนาวที่จะถึงนี้ จะมีการเดินทางที่เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน 

ทำให้ ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เตรียมการรองรับการเติบโตในอนาคตคือการก่อสร้างระบบทางขับขนานด้านทิศเหนือและปรับปรุงทางขับซ้ายหลุมจอด พร้อมทางขับเอและบี ภายในโครงการนอกจากจะมีทางขับสายต่างๆ ยังมีการปรับปรุงขยายถนน เริ่มก่อสร้างเริ่มตั้งแต่วันที่ 4 ต.ค.นี้ไปจนถึงวันที่ 26 ก.ค.2566 รวมระยะเวลา 660 วัน ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในการขึ้นลงของอากาศยานในอนาคต เพราะเครื่องบินที่ลงถึงรันเวย์แล้วสามารถเข้าสู่ทางคู่ขนานกับรันเวย์ดังกล่าวและขับเคลื่อนหรือแท็กซี่ไปยังหลุมจอดได้ ทำให้เครื่องบินลำอื่นสามารถขึ้นลงหรือใช้รันเวย์ได้อย่างต่อเนื่อง

นาวาอากาศตรี ดร.สมชนก กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ยังมีการสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง Maintenance Repair Operation (mro) เพื่อให้บริการแก่สายการบินต่างๆ ในการซ่อมบำรุงอากาศยานซึ่งได้มีการประสานความร่วมมือกัหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว รวมทั้งได้ประสานสายการบินต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และจะทำให้ จ.เชียงราย กลายเป็นศูนย์การซ่อมบำรุงอากาศยานของภาคเหนือซึ่งจะสร้างงานและอาชีพให้กับพื้นที่ได้เป็นอย่างดีต่อไป.

ข่าวอื่นๆ