AIS ติดอันดับดัชนีความยั่งยืนระดับโลก DJSI ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ตอกย้ำภารกิจเพื่อความยั่งยืน ในฐานะผู้นำอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย เดินหน้าขับเคลื่อนประเทศด้วยเศรษฐกิจดิจิทัลให้เกิดการพัฒนาและเติบโตอย่างยั่งยืน
17 พฤศจิกายน 2564: แนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของ AIS นับว่าเป็นภารกิจสำคัญในระดับนโยบายที่มีการวางแนวทางอย่างชัดเจน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีความครอบคลุมทั้งในส่วนของการดำเนินธุรกิจที่เป็นธรรม โปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาล การพัฒนานวัตกรรมและยกระดับคุณภาพสินค้าและบริการ รวมถึงสนับสนุนให้ชุมชนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและใช้งานได้อย่างเหมาะสมเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้คนไทยด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีมาตรฐานความปลอดภัยที่ดี นอกจากนั้น AIS ยังให้ความสำคัญกับการดูแลพนักงานให้มีศักยภาพพร้อมรับมือต่อการขยายตัวของธุรกิจอยู่ตลอดเวลา และใส่ใจสิ่งแวดล้อม โดยส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ ในการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี ซึ่งกลยุทธ์ทั้งหมด ได้ถูกผลักดันจากพลังของชาวเอไอเอสตามกรอบด้านการสร้างความยั่งยืนให้กับองค์กร ที่ทำให้ AIS ได้รับการจัดอันดับในดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ ทั้งในกลุ่มดัชนีโลกและดัชนีตลาดเกิดใหม่ (DJSI World and Emerging Markets Indices) ในปีนี้
นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS กล่าวว่า “AIS มีความมุ่งมั่นในการสร้างความยั่งยืนเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนประเทศด้วยเศรษฐกิจดิจิทัลให้เกิดการพัฒนาและเติบโตร่วมกัน ซึ่งเราได้ดำเนินธุรกิจตามกรอบแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งในเรื่องของ เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมโดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียกับองค์กรอย่างรอบด้าน ผ่านการสร้างสินค้าบริการด้านดิจิทัลที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและเสริมศักยภาพของธุรกิจให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมสามารถนำไปใช้ได้จนเกิดผลลัพธ์ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงได้จริง”
โดยแนวทางดำเนินธุรกิจตามกรอบแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งในเรื่องของเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม มีกลยุทธ์การทำงานที่สอดคล้องกับบริบทของสังคม ทำให้ AIS สามารถดำเนินแนวทางต่างๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรม ประกอบด้วย
ด้านเศรษฐกิจ ที่มีเป้าหมายใน 2 ด้านหลักที่ทำงานร่วมกับพันธมิตรกว่า 80 รายในปี 2020 ที่ผ่านมา คือ
- การสร้างสินค้าและบริการผ่านนวัตกรรมด้านดิจิทัล และโครงข่าย AIS 5G เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย
- เสริมศักยภาพของภาคธุรกิจไปพร้อมกัน รวมถึงการพัฒนาระบบการป้องกันภัยไซเบอร์และการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าให้มีมาตรฐานที่เชื่อถือได้
ด้านสังคม ที่ AIS ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างให้พนักงานมีความพร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงรองรับการขยายตัวของธุรกิจในบริบทของ Digital Disruption ด้วยแนวคิด “FIT FUN FAIR” ที่เป็นวัฒนธรรมองค์กรที่สร้างให้เกิดความหลากหลายทางความคิด สนับสนุุนให้พนักงานพัฒนาศักยภาพเพื่่อตอบรับความท้าทายทางธุุรกิจและสร้างเป้าหมายการทำงานร่วมกัน อีกทั้งยังมุ่งสร้างคุณภาพความเป็นอยู่ให้กับสังคมไทยด้วยโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล รวมถึงส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ ปลอดภัยและเหมาะสมให้แก่คนไทย
ด้านสิ่งแวดล้อม ภายใต้การดำเนินการเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีโครงการหลัก 3 ด้าน ประกอบไปด้วย
· การส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ติดตั้งอุปกรณ์วิทยุสถานีฐานที่สามารถใช้งานร่วมกันได้หลายเทคโนโลยี และปรับปรุงประสิทธิภาพของเครื่องจ่ายกระแสไฟฟ้า ขยายระบบ Virtual Machine Sever ที่ช่วยประหยัดพลังงาน การดำเนินการด้านนี้ทำให้ปี 2020 สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 75,590 ตันคาร์บอน
· การใช้พลังงานทางเลือกเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทางเลือกมาอย่างต่อเนื่อง โดยยอดรวม ณ ปี 2020 สามารถติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บริเวณสถานีฐาน ไปแล้วกว่า 2,747 สถานีฐาน และติดตั้งที่ศูนย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ และชุมสายรวม 4 แห่ง ทำให้ผลลัพธ์ของการใช้พลังงานทางเลือกสามารถลดประมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 3,503 ตันคาร์บอน ในปี 2020
· การลดปริมาณขยะ ชวนลูกค้าให้มีส่วนร่วมกับการช่วยสิ่งแวดล้อม ด้วยการลดใช้กระดาษเปลี่ยนมาใช้ e-bill แทน ซึ่งวันนี้เรามีผู้ใช้งานแบบ e-bill แล้วกว่า 6.7 ล้านราย รวมถึงสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Waste ที่วันนี้สามารถรวบรวม E-Waste ได้กว่า 234,463 ชิ้น ทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์สร้างจุดทิ้งกว่า 2,400 จุดทั่วประเทศ
“สำหรับการได้รับเลือกเป็นสมาชิกดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ ทั้งในกลุ่มดัชนีโลกและดัชนีตลาดเกิดใหม่ หรือ DJSI World Index และ DJSI Emerging Markets Index ในปีนี้ ก็นับว่าเป็นกำลังใจและอีกหนึ่งเครื่องยืนยันถึงความตั้งใจในการทำงานของชาว AIS ที่ร่วมกันสร้างการเติบโตและความแข็งแรงของโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลเพื่อคนไทยอย่างยั่งยืน โดย AIS ได้นำหลักเกณฑ์การประเมินองค์กรของ DJSI มาเป็นอีกส่วนหนึ่งในการวางแผนการดำเนินงานขององค์กรในด้านต่างๆ เพื่อให้พร้อมที่จะบริหารจัดการองค์กรอย่างยั่งยืน สร้างประโยชน์ให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม อย่างสอดคล้องกับมาตรฐานในระดับสากล ซึ่งในท้ายที่สุดจะเท่ากับสร้างประโยชน์ให้แก่ประเทศในภาพรวมด้วยเช่นกัน” นายสมชัย กล่าว