Gistda นำร่องบริหารสถานการณ์รองรับการแพร่ระบาดโควิด19

แชร์ข่าว

Gistda นำร่องบริหารสถานการณ์รองรับการแพร่ระบาดโควิด19 โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาจัดการในพื้นที่เป็นระดับจังหวัด 

24 พฤศจิกายน 2564  นายบัญชา เชาวรินทร์ รองผู้ว่าราชการจังดวัดเชียงราย เปิดโครงการพัฒนาระบบบริหารสถานการณ์รองรับการแพร่ระบาดโควิด 19   ที่โรงแรมเดอะ เฮอลิเทจ เชียงราย  ซึ่งทางสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ Gistda ร่วมกับสำนักงานการวิขัยแห่งชาติ(วช.) ในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตรกรรม(อว.) ได้ดำเนินการวิจัยโครงการฯเพื่อพัฒนาเป็นเครื่องมือสำหรับในประกอบการตัดสินใจ  โดยมีเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา และลำปาง เข้าร่วม

นางกานดาศรี ลิมปาคม รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ Gistda กล่าวว่าโครงการพัฒนาระบบบริหารสถานการณ์ รองรับการแพร่ระบาดโควิด-19 นี้ เป็นโครงการที่ใช้ภูมิสารสนเทศมาช่วยวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดจนนำไปสู่การควบคุมพื้นที่ได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ พร้อมขยายระบบให้รองรับผู้ใช้งานได้เพิ่มขึ้น รวมถึงพัฒนาเพื่อให้รองรับการบริหารจัดการในระดับพื้นที่/จังหวัด ให้เป็นระบบการแสดงผล (Dashboard) เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการกำหนดมาตรการต่างๆ ในระดับพื้นที่ให้กับ 5 จังหวัดต้นแบบ อาทิ เชียงใหม่ เชียงราย ตาก ชลบุรี และภูเก็ต 

ทั้งนี้ จังหวัดเชียงราย เป็นพื้นที่ที่มีการค้าชายแดนที่ความสำคัญ อีกทั้งยังได้รับการส่งเสริมเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ได้แก่ ศูนย์การค้าและการเงิน (แม่สาย) ศูนย์การท่องเที่ยวเชิงคุณภาพและท่าเทียบเรือนานาชาติ (เชียงแสน) และศูนย์โลจิสติกส์ อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (เชียงของ) เมื่อเกิดการระบาดของโควิด-19 จึงได้รับผลกระทบทั้งในด้านการค้า และแรงงาน โดย GISTDA ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบบูรณาการข้อมูลที่เรียกว่า “COVID-19 iMap Platform” ขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือให้กับศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (ศปม.) และศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคจังหวัด (ศปกจ.) 

โดยเชื่อมโยงข้อมูลด้านภูมิสารสนเทศที่มีอยู่จำนวนมาก เช่น ข้อมูลที่ตั้งของสถานที่ ข้อมูลด้านสาธารณสุข ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ และด้านประชากร จากหน่วยงานทั้งหมด 9 กระทรวง รวม 17 หน่วยงาน อาทิ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย์ กองบัญชาการกองทัพไทย และสภากาชาดไทย พัฒนาเป็นระบบศูนย์กลางข้อมูล (Data Center) เพื่อนำไปใช้ในการติดตาม เฝ้าระวัง วิเคราะห์ วางแผน สนับสนุนการทำงานประกอบการตัดสินใจในการบริหารจัดการทรัพยากรด้านสาธารณสุข ฟื้นฟูสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รวมถึงมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจเพื่อการบริหารจัดการสถานการณ์อย่างทันท่วงที

ทีมผู้วิจัยได้พัฒนาดัชนีชี้วัดความปลอดภัยต่อการติดเชื้อโควิด-19 หรือ “COVID-19 Safety Index” ขึ้น โดยใช้กระบวนการวิเคราะห์ ปัจจัยต่างๆในหลากหลายมิติ ทั้งด้านสถานการณ์การติดเชื้อ ด้านศักยภาพ/ความเพียงพอของระบบสาธารณสุข ด้านความหนาแน่นของประชากรและพื้นที่เสี่ยง และการจัดสรรวัคซีน ซึ่งมีส่วนแสดงผล 3 ส่วน คือ 1.) แสดงผลการวิเคราะห์ความปลอดภัยของพื้นที่ต่อการติดเชื้อโควิด-19 เพื่อแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างตรงจุด 2.) แสดงผลการคาดการณ์รายได้จากภาคการท่องเที่ยว เมื่อจังหวัดเริ่มมีการฟื้นตัว และ 3.) แสดงผลภาพรวมสถานการณ์โควิด-19 ในระดับอำเภอ 

และการพัฒนา Dashboard COVID-19 iMAP Platform มาใช้ในพื้นที่จังหวัดตาก จะทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของจังหวัดมีระบบเพื่อใช้บริหารจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด – 19 และการท่องเที่ยวในระดับพื้นที่ มีข้อมูลเชิงลึกที่ถูกต้อง แม่นยำ สามารถวางแผนและกำหนดมาตรการสำหรับเตรียมความพร้อมเพื่อการบริหารจัดการเชิงพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสามารถบูรณาการข้อมูลจากทุกภาคส่วนเพื่อสังเคราะห์และตรวจสอบความถูกต้องก่อนการเผยแพร่สู่ภาคประชาชนผ่านระบบเดียวกัน

นายบัญชา กล่าวว่า ระบบบริหารสถานการณ์รองรับการแพร่ระบาดโควิด19 ที่Gistda วิจัยพัฒนาขึ้นมาจะช่วยแก้ไขปัญหาสถานการณ์การแรพ่ระบาดของโควิด 19 ของพื้นที่เชียงรายได้เป็นอย่างดี เพราะที่ผ่านมามีข้อมูลเกี่ยวกันโควิด19 จำนวนมาก แต่อย่างอย่างกระจัดกระจายไม่รู้ว่าจะดึงมาบริหารจัดการอย่างไร เมื่อถูกจัดให้เป็นจะง่ายต่อการนำไปใช้งาน วิเคาาะหืและแก้ไขปัญา ซึ่งไม่เพียงแต่เชียงรายยังหมายถึงทุกจังหวัดของประเทศไทยที่จะนำไปใช้ได้ด้วย ซึ่งการจัดการสถานการณีโควิด 19 ในแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกันและแต่ละอำเภอก็ไม่เหมือนกัน ตัวระบบจะช่วยในการวางแผนและจัดการแต่ละพื้นที่ได้  

ที่ผ่านมาทาง ศปก. จะมีข้อมูลรวมที่ส่วนกลางและไม่ลงลึกในรายละเอียดจะเป็นข้อมรวมเป็นกลุ่มก้อนทำให้ยากต่อการนำมาวิเคราาะห์ใช้ ไม่เพียงระบบจะช่วยการจัดการโควิด 19 อย่างตรงจุดยังต่อยอดไปพัฒนาด้านอื่นๆ โดยเฉพาะด้านกท่องเที่ยวได้อีกด้วย ซึ่ง จ.เชียงราย จะเปิดเมืองในวันที่ 1 ธันวาคมนี้ เชื่อว่าระบบนี้จะรองรับการเปิดเมืองได้เป็นอย่างดี และเชื่อว่าเชียงรายพร้อมเพราะมีการฉีดวัคซีนแก่ประชาชนไปแล้วกว่าร้อยละ 70 และกลุ่มนักเรียนศึกษาถึงกว่าร้อยละ 90 เมื่อถึงเวลาเปิดเมืองจริงก็เชื่อว่าผู้ได้รับการฉีดวัคซีนจะเพิ่มขึ้นอีกย่องน้อย 5-10 เปอร์เช็นต์ทำให้มั่นใจว่าการท่องเที่ยวที่เชียงรายจะมีความปลอดภัยแน่นอน

////

ข่าวอื่นๆ