สำนักป่าไม้ 15 หนุนเครือข่ายราษฎรพิทักษ์ป่าแก้ปัญหาหมอกควัน ย้ำพบการกระทำผิด มีโทษปรับตั้งแต่ 4 แสนถึง 2 ล้านบาท และมีโทษจำคุก

แชร์ข่าว

เมื่อวันที่ 22 ก.พ.2566 ที่ห้องประชุมสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 (เชียงราย) นายชุติเดช กมนณชนุตม์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 (เชียงราย ) เป็นประธานให้โอวาทและมอบนโยบายให้กับกลุ่มเครือข่ายราษฎรพิทักษ์ป่า และกลุ่มอาสาพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช (อส.อส.) ของพื้นที่ จ.เชียงราย และ จ.พะเยา จำนวน 144 เครือข่าย จากพื้นที่ 144 ชุนชน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชุมชนในพื้นที่เสี่ยงของการเกิดไฟป่าและการเกิดปัญหาหมอกควันไฟ เนื่องจากมีพื้นที่ติดเขตอุทยาน เขตรักษาพันธุ์สัตว์และพืช และพื้นที่แนวชายแดนไทย-เมียนมา และชายแดนไทย-ลาว

โดย นายชุติเดช ได้เน้นย้ำให้เครือข่ายดำเนินการใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการป้องกันทรัพยากรในพื้นที่ป่า ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า ด้านการอนุรักษ์พื้นฟูและเพิ่มความชุ่มชื้นในพื้นที่ป่า ด้านการแก้ไขปัญหาช้างป่าและสัตว์ป่าออกนอกพื้นที่ และด้านการส่งเสริมพัฒนาอาชีพ เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันและฝุ่นละอองในพื้นที่ภาคเหนือ แต่ต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวังและให้ความปลอดภัยแก่เครือข่ายทั้งหมด โดยมีการมอบทุนสำหรับการดำเนินการให้ทางเครือข่ายฯ ละ 50,000 บาท รวมเป็นกว่า 7 ล้านบาท

นายชุติเดช กล่าวว่า เครือข่ายเหล่านี้จะมีบทบาทสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันระดับพื้นที่ มีส่วนในการรักษาป่าต้นน้ำ ซึ่งในช่วงไฟป่าเครือข่ายเหล่านี้จะเข้าไปทำแนวกันไฟรอบหมู่บ้าน แนวรอบป่าอนุรักษ์ สร้างความรู้ให้แก่สมาชิกในหมู่บ้านเรื่องการดับไฟ การเข้าดับไฟ ช่วยทางกรมฯ และทางสำนักสามารถคบวคุมไฟป่าได้อย่างดียิ่ง พื้นที่อุทยานและป่าอนุรักษ์เชียงราย-พะเยา มีประมาณ 2 ล้านไร่ ปีนี้จุดฮอตสปอตถือว่าน้อยเพราะได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านและทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

นายชุติเดช กล่าวด้วยว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดไฟป่า ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของหมอกควันไฟ คือยังมีกลุ่มคนบางกลุ่มยังมีความเข้าใจที่ผิดในเผาป่าเพื่อหาของป่า หรือเป็นการจุดโดยไม่ได้ตั้งใจเพื่อเผาไร่แต่ลุกลามไปยังพื้นที่ ซึ่งอยากประชาสัมพันธ์ให้คนทั่วไปได้เข้าใจถึงพิษภัยของการเกิดไฟป่า มีความรุนแรงสูงยิ่งภาวะเกิดความกดอากาศสูง จะส่งผลมลภาวะแก่พี่น้องประชาชนที่อยู่ในพื้นที่

ตอนนี้ทางสำนักฯ จึงเพิ่มความถี่ในการรณงค์ ซึ่งในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2566 ก็จะมีการปล่อยขบวนรณรงค์ออกไปตามพื้นที่อำเภอต่างๆ เพื่อสร้างความตระหนักแแก่ประชาชนในพื้นที่ สร้างความร่วมมือในพื้นที่เกษตร พื้นที่ป่าสงวน พื้นที่อนุรักษร์ต่างให้ครอบคลุม ขณะเดียวกันก็ยังจะบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้น หากยังมีการฝ่าฝืนก็จะดำเนินการขั้นเด็ดขาดทั้งการปรับและการจำคุก โดยเฉพาะพื้นที่ป่าอนุรักษ์จะมีโทษปรับสูงตั้งแต่ 4 แสนถึง 2 ล้านบาทและมีโทษจำคุกด้วย.

ข่าวอื่นๆ