ถอดบทเรียนถ้ำหลวง วางกรอบแก้ปัญหาได้ทุกเรื่อง ขณะที่ถ้ำหลวงพบเป็นศูนย์รวมน้ำมหาศาลที่มาของอุปสรรคช่วยทีมหมูป่า

แชร์ข่าว

เมื่อวันที่8 สิงหาคม2561 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จัดการประชุมเสวนาถอดบทเรียนจากปฏิบัตการค้นหา กู้ภัยและช่วยเหลือผู้สูญหายภายในถ้ำหลวง วนอุทยานถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน ต.โป่งผา อ.แม่สาย จ.เชียงราย ระหว่างวันที่ 23 มิ..-11 ..61ที่โรงแรมโพธิ์วดลรีสอร์ท แอนด์ สปา อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย ซึ่งจัดขึ้น2วัน คือวันที่  8-9 ..นี้ โดยมี นายภาสกร บุญญลักษม์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานในพิธีเปิดและมีผู้ที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการเข้าร่วมกว่า100คน

นายภาสกร กล่าวว่า ตั้งแต่เสร็จปฏิบัติการนำเด็กๆ ทีมหมูป่าอะคาดามีที่เป็นผู้ประสบเหตุออกจากถ้ำได้ทั้งหมดแล้วเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายก็แทบจะไม่ได้พบกันพร้อมหน้าเช่นนี้อีกจึงถือเป็นโอกาสสำคัญในการจะร่วมกันถอดบทเรียน สำหรับเหตุการณ์ดังกล่าวถือเป็นภัยพิบัติระดับ 2 ที่จังหวัดสามารถดำเนินการได้โดยระดับ 1 คือระดับอำเภอ ระดับ 2 คือระดับจังหวัด ระดับ 3 ระดับกระทรวงมหาดไทย และระดับ 4 รัฐบาลนำโดยนายกรัฐมนตรีจะบัญชาการเอง ทั้งนี้เนื่องจากภัยครั้งนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนและมีผู้ระดมกำลังเข้าสนับสนุนภารกิจจำนวนมาก จึงต้องจัดตั้งศูนย์บัญชาการสั่งการ จ.เชียงราย แบ่งภารกิจ จัดระเบียบ จึงทำให้ภารกิจบรรลุเป้าหมายมาได้ดังนั้นจึงถึงเวลาต้องถอดบทเรียนเพราะคนทั้งโลกต้องการรู้ว่าประเทศไทยเราบริหารเหตุการณ์นี้อย่างไร

การประชุมยังมีการจัดให้มีเวทีเสวนาประกอบด้วย พล..สายัณฑ์ เมืองศรี ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 34 พล..บัญชา ดุริยพันธ์ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 37 นายกองชัย บุญอรณะ รองอธิบดีกรม ปภ.นายกมลไชย คชชา ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 และนายธเนศ วีระศิริ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยเริ่มต้นด้วยการให้แต่ละหน่วยงานแจ้งภารกิจที่ได้รับ เช่น มณฑลทหารบกที่ 34 ค้นหาปล่องด้านบนถ้ำ มณฑลทหารบกที่ 37 สูบน้ำเพื่อพร่องน้ำในถ้ำ ตั้งโรงพยาบาลสนาม ครัว กรม ปภ.ประสานงานจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์

ทั้งนี้จังหวัดเชียงราย สรุปเหตุการณ์ว่าเด็กๆ ทีมหมูป่าอะคาดามีเข้าไปในถ้ำช่วงบ่ายวันที่ 23 มิ..ที่ผ่านมา และจากการประเมินของทางจังหวัดเชียงราย พบว่าระดับอำเภอไม่สามารถจัดหานักประดาน้ำดำเข้าถึงตัวเด็กได้จึงตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์และยกระดับเป็นภัยพิบัติระดับ 2 จากนั้นประสานทหารเรือหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือหรือหน่วยชีล เข้าปฏิบัติการดำค้นหาภายในถ้ำตั้งแต่คืนวันที่ 24 มิ..เบื้องต้นปฏิบัติการ 17 นาย สามารถดำเข้าไปถึงโถงที่ 3 ผ่านสามแยกในถ้ำระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตรและเลี้ยวไปทางหาดพัทยาบีช ที่คาดว่าเด็กๆ จะอยู่ภายในอีก 400 เมตร ใช้เวลา 2-3 วันแต่ปรากฎว่าน้ำทะลักเข้าไปเพิ่มเติมในถ้ำจนท่วมถึงโถงแรกที่ปากถ้ำทำให้เจ้าหน้าที่ต้องถอนกำลังออก และเริ่มปฏิบัติการค้นหาปล่องด้านบนเพื่อเพิ่มช่องทางลงไปยังหาดพัทยาและสูบน้ำวออกจากถ้ำ

 

นายกมลไชย กล่าวว่า กรมอุทยานแห่งชาติฯ มีกำหนดจะปิดถ้ำตั้งแต่วันที่ 1 .. เพราะเข้าฤดูฝนแต่เด็กๆ ทั้ง 13 คนเข้าไปก่อนที่จะมีการประกาศปิดถ้ำ ขณะที่ถ้ำหลวงดังกล่าวนั้นไม่เคยมีการสำรวรจทางวิชาการอย่างเป็นทางการมาก่อน ที่ผ่านมาแผนที่ภายในได้จากคำบอกเล่าหรือนักสำรวจทั้งชาวไทยและต่างประเทศที่เคยเข้าไปแล้วเขียนแผนผังคร่าวๆ ว่ามีห้องโถง มีช่องต่างๆ อย่างไร ส่วนโพรงหรือปล่องด้านบนก็ล้วนมาจากเรื่องเล่าจากชาวบ้านทั้งสิ้น แม้แต่ตนก็เคยเข้าไปได้ลึกประมาณ 700-800 เมตรก็รีบออกมาเพราะอากาศภายในมีน้อย 

ผลสรุปพบว่ามีปล่องด้านบนถ้ำนับ 100 ปล่อง แต่ที่เป็นไปได้มีจำนวน 24 ปล่อง และลึกที่สุดคือประมาณ 400 เมตร ทีมค้นหารังนกที่เข้าไปสนับสนุนภารกิจได้โรยตัวลงไปได้จากนั้นก็มีช่องคดเคี้ยวต่อไปได้อีกแต่ก็ตันไม่สามารถไปถึงช่องถ้ำได้โดยใช้เครื่องมือจีพีเอสตรวจพบว่าต้องขุดจาะอีก 800 เมตรซึ่งเป็นไปไม่ได้จึงได้ยกเลิกภารกิจการเจาะไป นอกจากนี้ผลการตรวจด้านบนยังพบห้วยน้ำดั้น ห้วยมะกอก ซึ่งบางจุดมีช่องหินที่น้ำกว่า 50% ที่ไหลลำห้วยได้หายไปในช่องหินแล้วมุ่งตรงไปยังโพรงถ้ำด้านในจึงเกิดปฏิบัติการทำท่อน้ำให้ไหลพ้นช่องดังกล่าวเพื่อพร่องน้ำภายในถ้ำ

พล..สายัณห์ กล่าวว่า จุดที่เด็กๆ ติดอยู่ในถ้ำลึกจากด้านบนกว่า 1,300 เมตรหรือ 1 ไมล์กว่าปัญหาที่เกิดขึ้นคือไม่สามารถเชื่อมปล่องด้านบนกับช่องถ้ำที่ลึกดังกล่าวได้ขณะที่ปริมาณน้ำวช่วงระหว่างวันที่ 19-21 มิ..พบว่ามีปริมาณ 90 มิลลิเมตรรวมกันแล้วมีมวลน้ำกว่า 270,000 ลูกบาศก์เมตรทะลักเข้าไปในถ้ำก่อนเด็กๆ จะเข้าไปและจากการสแกนจากด้านบนพบว่าลึกลงไปประมาณ 100 เมตรก็เต็มไปด้วยโพรงน้ำและน้ำที่ไหลผ่านไปถึงปลายเขาเหลือแค่ 10% ที่เหลือไหลลงโพรงเหล่านี้มุ่งตรงไปยังถ้ำ กระทั่งวันที่ 25-27 มิ..พบว่าปริมาณฝนมากถึง 119 มิลลิเมตร ทำให้ปริมาณน้ำเพิ่มเป็น 320,000 ลูกบาศก์เมตร ทำให้เด็กๆ ติดอยู่ในถ้ำแล้วออกมาไม่ได้ดังกล่าวและหน่วยที่ดำเข้าไปค้นหาก็ต้องถอนกำลังออกเพราะปริมาณน้ำดังกล่าวทะลักท่วมออกมาถึงปากถ้ำดังกล่าว 

การเสวนายังได้หยิบยกประเด็นกรณีเด็กๆ ภายในถ้ำได้ยินเสียงสุนัขและไก่ขันช่วงที่ติดอยู่ที่เนินนมสาวห่างจากปากถ้ำกว่า 3.7 กิโลเมตร ซึ่งพบว่ายังไม่สามารถสรุปให้ชัดเจนโดยทางจังหวัดระบุว่าภายหลังได้รับแจ้งก็ให้ทางองค์กรส่วนท้องถิ่นทดลองเปิดเสียงเพลงภายนอกเป็นเพลงแตกต่างกันในจุดที่แตกต่างกัน เพื่อจะได้สอบถามเด็กๆ ว่าได้ยินเสียงเพลงดังกล่าวจากจุดใดแต่ปรากฎว่าไม่มีใครได้ยินเสียง แต่ปรากฎว่าเมื่อสามารถช่วยเด็กๆ ออกมาได้แล้วสอบถามก็ทราบว่ากลับได้ยินนกหวีดและเสียงคนพูดคุยกันอีก ทั้งนี้ทางเจ้าหน้าที่จะได้สรุปข้อมูลทั้งหมดให้แล้วเสร็จในเดือน ส..นี้ และจัดทำเป็นรูปเล่มที่สมบูรณ์ภายในวันที่ 1-30 ..นี้ต่อไป/////

ข่าวอื่นๆ