นักวิจัยเภสัช มช. เก่งต่อยอดพริกและสมุนไพรผลิตครีมนาโนรักษาอาการปวดอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือหนุน คณะเภสัช มช.จับมือเอกชนลงนามเรียบร้อยใช้สิทธิเทคโนโลยีครีมแก้ปวดจากสารสกัดพริกและสมุนไพรไทย ด้วยนวัตกรรมนาโนรางวัลเหรียญทองนานาชาติ ผลิตขายเชิงพาณิชย์เจาะตลาดทั้งในและต่างประเทศ
วันที่ 24 สิงหาคม 2563 ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามขอใช้สิทธิเทคโนโลยีครีมแก้ปวดของสารสกัดพืชไทยด้วยนวัตกรรมนาโน ระหว่างคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับบริษัทเดอะพอสสิเบิ้ล จำกัด โดยการสนับสนุนของ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการผลิตผลิตภัณฑ์ครีมแก้ปวดของสารสกัดพืชไทยด้วยนวัตกรรมนาโนจำหน่ายเชิงพาณิชย์
ทั้งนี้เทคโนโลนีดังกล่าวเป็นผลงานการวิจัยและพัฒนาของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.รัตติรส คนการณ์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์โดยการใช้สารสกัดพริกที่มีสารสำคัญ คือ แคปไซซิน (Capsaicin) ที่มีคุณสมบัติบรรเทาอาการปวดโดยทำให้เซลล์ประสาทไม่รับรู้ความรู้สึกปวด เพิ่มการไหลเวียนของเลือดมาเป็นองค์ประกอบในครีมแก้ปวด อีกทั้งสารสกัดพืชไทยหลายชนิดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการปวด อักเสบ และลดความรุนแรงของการเจ็บปวด
โดยใช้เทคโนโลยีการบรรจุสารสำคัญไว้ในไลโปโซมเพื่อกักเก็บตัวยาและส่งผ่านทางผิวหนัง เพิ่มความคงสภาพ ทำให้สามารถซึมผ่านผิวหนังในชั้นที่ลึก ช่วยลดความเป็นพิษของยา ลดการระคายเคืองของยาที่ให้ทางผิวหนัง และไม่เป็นพิษต่อร่างกาย ซึ่งผลงานวิจัยนี้ได้รับรางวัลชนะเลิศจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ TCELS กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และรางวัลชนะเลิศ Gold medals จากงานประชุม การประดิษฐ์ การวิจัย และนวัตกรรม ครั้งที่ 12 European Exhibition of Creativity and Innovation หรือ “EUROIVENT 2020” ณ Palace of culture เมือง IASI ประเทศ Romania
ขณะที่บริษัท เดอะ พอสสิเบิ้ล จำกัด ได้เล็งเห็นศักยภาพของเทคโนโลยี ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบันที่มีภาวะเจ็บปวดบริเวณกล้ามเนื้อและข้อจากการทำงานโดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศที่มักพบปัญหาอาการ Office syndrome การเจ็บปวดจากการออกกำลังในรูปแบบต่างๆ และรวมถึงอาการเจ็บปวดจากความเสื่อมชราของร่างกาย ซึ่งถือเป็นผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ในตลาด อีกทั้งงานวิจัยนี้มีรางวัลการันตีจากทั้งในและต่างประเทศซึ่งจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคได้ไม่ยาก และบริษัทมีแผนขยายตลาดไปยังต่างประเทศในอนาคตอันใกล้นี้
ผศ.ดร.ภญ. รัตติรส คนการณ์ นักหวิชัย และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือ STeP แจ้งว่า การผลักดันงานออกสู่พาณิชย์เป็นพันธกิจสำคัญของ STeP ซึ่งถูกบรรจุไว้อยู่ในแผนยุทธศาสตร์และแผนการดำเนินงานในการบริหารงานอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อนำงานวิจัยของมหาวิทยาลัยไปสู่การสร้างนวัตกรรมที่สามารถใช้งานได้จริง โดยมุ่งหวังว่าการนำผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์จะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างก้าวกระโดด และจะได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทั้งนักวิจัย มหาวิทยาลัย และภาคเอกชนเพื่อสร้างสังคมนวัตกรรมในพื้นที่ และขยายสู่ระดับประเทศ และเอเชียต่อไป…
งานพ่อขุนเม็งรา…
วันที่ 18 ธันวา…
สถานคุ้มครองสวั…