สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงรายจับมือบริษัทอีเอสโกลบอล แถลงความสำเร็จการจ้างที่ปรึกษาในการปรึกษาแนะนำเชิงลึกในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและดิจิทัลเพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการประกอบธุรกิจตามโครงการยกระดับการประกอบการ SME ภาคเหนือตอนบน ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Transformation for Upper Northern SME)
วันที่ 8 ธันวาคม 2563 นายนิรันดร์ ยิ่งมหิศรานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายภาษเดช หงส์รดารมย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย นางกฤษนันท์ ทะวิชัย อุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย ดร.ชูเกษ อุ่นจิตติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อี เอส โกลบอล จำกัด ร่วมกับเปิด กิจกรรมการจ้างที่ปรึกษาในการปรึกษาแนะนำเชิงลึกในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและดิจิทัลเพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการประกอบธุรกิจตามโครงการยกระดับการประกอบการ SME ภาคเหนือตอนบน ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Transformation for Upper Northern SME) ณ โรงแรมแสน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
นายนิรันดร์ ยิ่งมหิศรานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า จากความร่วมมือกับบริษัท อี เอส โกลบอล จำกัด ดำเนินกิจกรรมการปรึกษาแนะนำเชิงลึกในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและดิจิทัลเพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการประกอบธุรกิจตามโครงการยกระดับการประกอบการ SME ภาคเหนือตอนบน ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Transformation for Upper Northern SME) จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางธุรกิจในปัจจุบัน ทำให้สถานประกอบการหลายแห่งต้องปิดตัวลงหรือประสบปัญหาทางธุรกิจอย่างรุนแรง (Disruption) เนื่องจากไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีความแตกต่างไปจากช่วงที่ผ่านมาเป็นอย่างมาก
ดังนั้น สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 และ 2 จึงมีความประสงค์ในการดำเนินโครงการยกระดับการประกอบการ SME ภาคเหนือตอนบน ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Transformation for Upper Northern SME) ซึ่งจะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับสถานประกอบการให้สามารถปรับตัวการประกอบธุรกิจให้เข้ากับยุคสมัยได้อย่างเหมาะสมในอนาคตต่อไป
นางกฤษนันท์ ทะวิชัย อุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย กล่าว่า ขณะนี้ มีผู้ประกอบการสนใจเข้ารวมโครงการ จำนวน 51 กิจการ ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน (เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน) โดยในโครงการจะประกอบไปด้วย 3 กิจกรรม คือ 1. จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ สร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการประกอบธุรกิจด้วยเทคโนโลยีและดิจิทัล 2.ปรึกษาแนะนำเชิงลึกในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและดิจิทัลเพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการประกอบธุรกิจ ให้กับกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับคัดเลือก จำนวน 51 ราย
– ด้านกระบวนการผลิต (Digital Processing) เช่น การจัดทำข้อมูลห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain) ที่สามารถนำไปสู่การกำหนดต้นทุนการผลิต ราคาขาย และจุดคุ้มทุนได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ เป็นต้น
– ด้านการตลาด (Digital Marketing) เช่น การนำผลิตภัณฑ์เข้าสู่ดิจิทัลแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยม เพื่อขยายตลาดไปสู่กลุ่มผู้บริโภคที่มีศักยภาพ เป็นต้น
– ด้านการบริหารจัดการ (Digital Management) เช่น การพัฒนาระบบบัญชีและการเงินของสถานประกอบการที่สามารถตรวจสอบได้แบบ Real Time เป็นต้น
3.จัดกิจกรรมพบปะทางธุรกิจระหว่างสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการกับผู้ให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์มทางการตลาดที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค
มีผู้ประกอบการเข้าร่วม 51 กิจการ และหน่วยงานการส่งเสริมพัฒนา SME จำนวน 10 หน่วยงาน เช่น สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล,ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 , ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank) ,สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) , สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NIA) และผู้ให้บริการแพลตฟอร์มจำนวน 10 ราย เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงสนับสนุนการพัฒนาผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่องต่อไปในอนาคต
โดยภาพรวมโครงการฯ ผู้ประกอบการมีการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายใหม่ ผ่านช่องทางออนไลน์ ผ่านแพลตฟอร์มผู้ให้บริการที่มีชื่อเสียง เช่น อาลีบาบา Shopee ,LAZADA ,Facebook ,Line OA ,Grab food ,Food Panda , ReadyPlanet ,Google my Business , Pinterest และแพลตฟอร์มการบริหารจัดการองค์กร ODOO
โดยสรุปผลการให้คำปรึกษาแนะนำทั้ง 51 กิจการ สามารถพัฒนาช่องทางการขายใหม่ และสามารถสรุปผลการพัฒนายอดขายรวมเพิ่มขึ้น 405 ล้านบาท ต่อปี ซึ่งเป็นผลให้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ มีความพึงพอใจในภาพรวมอย่างมาก และสามารถต่อยอดพัฒนาองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป////