เปิดศูนย์รังสีร่วมรักษา โรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค ให้การดูแลได้ทุกระยะอย่างครบวงจร
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 ที่โรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค จังหวัดเชียงราย นายแพทย์วิฑูรย์ ยงเมธาวุฒิ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลฯ ได้จัดพิธีเปิดศูนย์รังสีร่วมรักษา เพื่อแนะนำ นายแพทย์ณัฐชัย เครือจักร รังสีแพทย์ และแถลงข่าวถึงความสำคัญในการเปิดศูนย์รังสีร่วมรักษาในครั้งนี้ โดยมีการแนะนำ การรักษาโดยใช้เครื่องมือและนวัตกรรมใหม่ ในการรักษา พร้อมสัมภาษณ์ผู้ป่วยที่มารับบริการที่ศูนย์ฯ ด้วยการใช้เทคโนโลยีให้ในการรักษาและสามารถรักษาให้หายจากอาการป่วยดังกล่าว
นายแพทย์วิฑูรย์ ยงเมธาวุฒิ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลฯ ได้ กล่าวว่า โรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค ได้ตระหนักถึงเรื่องสุขภาพของพี่น้องประชาชนมาโดยตลอด เมื่อมีวิทยาการและ มีนวัตกรรมใหม่ที่สามารถนำมาช่วยชีวิต หรือทำให้คุณภาพชีวิตของทุกท่านดีขึ้น เราก็จะไม่รอช้า เราจึงจัดตั้งศูนย์รังสีร่วมรักษา โรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค ที่พร้อมจะนำเทคโนโลยีใหม่มาสู่ชาวเชียงรายและ พี่น้องจังหวัดใกล้เคียง ทำให้ท่านไม่ต้องเดินทาง ไปรักษาเป็นระยะทางไกล สามารถให้บริการกับผู้ป่วยโรคต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ โดยจะมีการทำงานร่วมกับทีมแพทย์เฉพาะทางและทีมงานผู้เชี่ยวชาญ
ในการยกระดับการรักษาขึ้นมา ให้ดูแลได้ทุกระยะอย่างครบวงจร และพร้อมที่จะทำการรักษาด้วยความมีมาตรฐานสูงสุด อย่างปลอดภัย ขอขอบคุณที่ทุกท่านให้เกียรติมาร่วมในพิธีเปิดศูนย์รังสีร่วมรักษา ของเราในวันนี้ และท้ายสุดนี้เราสัญญาว่า เราพร้อมที่จะดูแลเรื่องสุขภาพให้กับพี่น้องชาวเชียงรายอย่างดีที่สุด ด้วยความมีมาตรฐาน ที่ได้รับการรับรองจากสถาบันรับรองคุณภาพทั้งในประเทศและต่างประเทศ ให้ทุกท่านได้มีสุขภาพที่ดีมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
พร้อมกันนี้ ประกอบพิธีเปิดศูนย์รังสีร่วมรักษาอย่างเป็นทางการ ณ ศูนย์รังสีร่วมรักษา ชั้น 2 อาคารหมอกัมพล โรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค
ศูนย์รังสีร่วมรักษา โรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค พัฒนาวิธีการที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วย และสามารถนำไปใช้ได้กับโรคที่เกิดกับอวัยวะเกือบทุกระบบ ทั้งในด้านการตรวจวินิจฉัยและการรักษา ที่เกี่ยวข้องกับระบบโรคต่างๆในร่างกายคนเรา โดยอาศัยเครื่องเอกซเรย์ชนิดพิเศษ ร่วมกับอุปกรณ์ขนาดเล็กที่สามารถเข้าไปรักษาตัวโรค ในร่างกายผู้ป่วยโดยตรง ทำให้ได้ประสิทธิภาพเทียบเคียงการผ่าตัดในหลายๆโรค โดยทำให้มีแผลเพียงเล็กน้อยและฟื้นตัวเร็ว
ซึ่ง ศูนย์รังสีร่วมรักษา โรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค นำเทคโนโลยีใหม่มาสู่ชาวเชียงรายและจังหวัดใกล้เคียง ทำให้ไม่ต้องเดินทาง ไปรักษาเป็นระยะทางไกล สามารถให้บริการกับผู้ป่วยโรคต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ เราทำงานร่วมกับทีมแพทย์เฉพาะทางและทีมงานผู้เชี่ยวชาญ ในการยกระดับการรักษาขึ้นมา ให้ดูแลได้ทุกระยะอย่างครบวงจร และพร้อมที่จะทำการรักษาด้วยความมีมาตรฐานสูงสุด อย่างปลอดภัย ด้วยความใส่ใจ ดูแลคุณ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ข้อมูลศูนย์รังสีร่วมรักษา (Interventional Radiology Center)
โรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค เชียงราย ได้นำเทคโนโลยีในการรักษาแบบใหม่ที่ใช้รักษาโรคโดยไม่ต้องผ่าตัดด้วย “เครื่องเอกซเรย์ตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคหลอดเลือดชนิด 2 ระนาบ (Bi–Plane Digital Subtraction Angiography) ซึ่งเป็นเครื่องที่ทันสมัยที่สุด และเครื่องตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasonography) และถือเป็นศูนย์รังสีร่วมรักษาแบบครบวงจรแห่งแรกในจังหวัดเชียงราย
การตรวจทางรังสีร่วมรักษาด้วยเครื่อง Bi – Plane Digital Subtraction Angiography และ Ultrasound ถือเป็นหัตถการที่มีมาตรฐานในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคซึ่งให้ความแม่นยำสูง สามารถทำให้แพทย์เห็นถึงพยาธิสภาพของร่างกายผู้ป่วยและอาศัยความสามารถของเครื่องมือนำอุปกรณ์ขนาดเล็ก เช่น สายสวนหลอดเลือด (Catheter, Micro catheter) เข็มเจาะชิ้นเนื้อ (Biopsy Needle) ขดลวดและบอลลูน (Stent, Coil, Balloon) ยาเคมีบำบัด (Chemo Therapy) กาว (Glue) ตลอดจนอุปกรณ์พิเศษอื่นๆ เข้าไปทำการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคด้วยหัตถการทางรังสีร่วมรักษา (Intervention) ได้ โดยไม่ต้องผ่าตัด ถือเป็นวิธีที่ทันสมัยในวงการแพทย์ปัจจุบัน ส่งผลให้ผู้ป่วย เจ็บน้อยกว่าระยะพักฟื้นไม่นานแผลเล็กกว่าและภาวะแทรกซ้อนต่างๆน้อยกว่า
ศูนย์รังสีร่วมรักษา โรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค เชียงราย รองรับการทำหัตถการ ดังต่อไปนี้
1. ระบบหลอดเลือดของลำตัว (Body Vascular)
2. ระบบนอกเหนือจากหลอดเลือด (Non – vascular)
3. กลุ่มโรคมะเร็งตับ (HCC Treatment)
Body Vascular Intervention
Non – Vascular Intervention
– หนองหรือน้ำในช่องปอด (Empyema thoracis, Pleural Effusion)
– หนองในช่องท้อง เช่น หนองในตับ หรือน้ำในช่องท้อง (Intraabdominal abscess e.g. liver abscess, ascites)
HCC Treatment
เป็นการรักษาตามระยะ และลักษณะของก้อนเนื้องอก ซึ่งรังสีแพทย์ร่วมรักษาจะเป็นผู้ประเมินแนวทางการรักษา เช่น
1. การรักษามะเร็งตับผ่านผิวหนังด้วยการสอดเข็มเข้าสู่ก้อนเนื้องอกและทำลายด้วยคลื่นความร้อน (Radiofrequency Ablation หรือ Microwave Ablation)
2. การรักษามะเร็งตับผ่านผิวหนังด้วยการฉีดแอลกอฮอล์บริสุทธิ์เข้าสู่ก้อนเนื้องอก (Percutaneous Ethanol Injection Therapy)
3. การรักษามะเร็งตับผ่านทางหลอดเลือดแดง โดยใช้สายสวนหลอดเลือด และอุดกั้นหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงก้อนเนื้องอก ร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัดเฉพาะที่ (TACE : Transarterial Chemoembolization) …
พื้นที่โฆษณาประชาสัมพันธ์
งานพ่อขุนเม็งรา…
วันที่ 18 ธันวา…
สถานคุ้มครองสวั…