อิสลามเชียงราย สู้โควิด19ปรุงอาหารใส่ปิ่นโตแทนจัดเลี้ยง ช่วงถือศิลอดรอมฎอน ถือว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ อีกสิ่งการจัดเลี้ยงด้วยปิ่นโต ยังทำให้คนในครอบครัวได้กินด้วย เพราะต่างจากการจัดเลี้ยงที่มัสยิด ที่คนในครอบครัวอาจไม่ได้เดินทางไปร่วม
วันที่ 22 เมษายน 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงที่ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม อยู่ระหว่างการถือศีลอด เนื่องในเดือนรอมฎอนเป็นเวลา 30 วันนี้ ทางกลุ่มชาวอิสลามในจังหวัดเชียงราย นำโดย นายปรีชา อนุรักษ์ กรรมการอิสลามประจำ จังหวัดเชียงราย ได้รวมกลุ่มกันบริจาคทานเพื่อจัดทำอาหารสำหรับให้ชาวอิสลาม ที่อยู่ในช่วงเดือนถือศิลอดรอมฎอน ได้บริโภคหลังพระอาทิตย์ตกดินไปแล้ว โดยการปรุงอาหารสดใหม่ทุกวัน และแจกจ่ายอาหาร โดยใช้การแจกด้วยปิ่นโต เพื่อให้สมาชิกที่เป็นชาวมุสลิม ที่เข้าร่วมโครงการ นำไปรับประทานที่บ้าน แทนการจัดเลี้ยงด้วยโรงทานตามมัสยิดต่างๆ เหมือนที่ผ่านมา เนื่องจากมีการระบาดของโควิด19 ขณะที่การทำบุญด้วยการให้อาหารช่วงเดือนรอมฎอนก็ยังเป็นสิ่งที่ได้ยึดถือปฏิบัติกันอยู่ของ ศาสนาอิสลาม
สำหรับสถานที่ที่กลุ่มชาวอิสลาม ใช้ปรุงอาหารคือร้านโรตีป้าใหญ่ ตั้งอยู่ที่ชุมชนกกโท้ง เทศบาลนครเชียงราย อ.เมือง จ.เชียงราย โดยแต่ละวันจะมีลูกหลานและคนงานร้านโรตีป้าใหญ่ ออกมาช่วยกันปรุงอาหารเป็นเมนูต่างๆ อย่างหลากหลาย และนำบรรจุในปิ่นโต 5 ชั้นโดยมีข้าว 2 ชั้นและอาหารจำนวน 3 ชั้น เพื่อให้เพียงพอต่อการบริโภคได้หลายคน จากนั้นนำไปจัดเรียงรอสมาชิกให้ไปรับโดยผู้ที่จะเป็นสมาชิกกลุ่มต้องเข้ารับการอบรมด้านการป้องกันโควิด19 จากนั้นมีการลงทะเบียน และมอบหมายเลขปิ่นโตให้เพื่อให้แต่ละคนได้ไปรับปิ่นโตในช่วงเวลาประมาณ 16.00 น.ของทุกวันอย่างถูกต้องและวันถัดไปก็นำปิ่นโตไปคืนเพื่อทำความสะอาดสำหรับบรรจุอาหารรอบใหม่ต่อไป
นายปรีชา อนุรักษ์ กรรมการอิสลามประจำ จังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่า ตามปกติพวกเราก็จะมีทำบุญเลี้ยงอาหารเป็นประจำทุกเดือนและยิ่งช่วงเดือนรอมฎอน ก็จะทำกันทุกวัน แต่เนื่องจากช่วง 1-2 ปีนี้เกิดวิกฤติโควิด-19 ทำให้ต้องหันมาคิดค้นนวัตกรรมใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาการนั่งรับประทานรวมกลุ่มกันซึ่งอาจทำให้เกิดการติดต่อของเชื้อไวรัสกันได้ง่าย ดังนั้นจึงได้คิดค้นการนำปิ่นโตมาใช้ประโยชน์และได้รับการสนับสนุนจากร้านโรตีป้าใหญ่ในการรับเป็นสถานที่และคนปรุงให้ จึงทำให้ไม่ต้องเสียต้นทุนมากและมีค่าใช้จ่ายเพียงการจัดหาซื้อวัตถุดิบต่างๆ มาทำการปรุงเท่านั้น ซึ่งจากการสอบถามไปยังจังหวัดอื่นๆ รวมถึงกรุงเทพฯ ก็ไม่เคยพบเห็นพื้นที่ใดใช้วิธีการนี้มาก่อนเลย พวกเราจึงถือเป็นกลุ่มบุกเบิกซึ่งทุกพื้นที่สามารถนำไปใช้เป็นต้นแบบได้
ปัจจุบันมีผู้ที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกรับปิ่นโตจำนวน 110 คน ทำให้ต้องทำอาหารสำหรับปิ่นโตจำนวน 110 ปิ่นโตต่อวัน รวมระยะเวลาในการจัดทำอาหารใส่ปิ่นโตจำนวน 30 วัน ซึ่งหลังจากดำเนินการมาได้หลายวันพบว่าได้ผลเป็นอย่างดีและผู้ไปรับก็ได้ความรู้เรื่องไว โควิด19 มีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) มาให้บริการคัดกรองก่อนรับอาหาร และอาหารที่ได้ถือว่าให้มากสามารถนำไปรับประทานร่วมกับคนในครอบครัวได้ซึ่งดีกว่าการจัดเลี้ยงเป็นโต๊ะ ซึ่งสมาชิกในบ้านบางคนอาจจะไม่เวลาไปรับประทานได้อย่างครบถ้วน สำหรับค่าใช้จ่ายนั้นก็มีผู้บริจาคกันเข้าไปอย่างเพียงพอหรือแม้แต่สมาชิกที่ไปรับปิ่นโตก็ร่วมสมทุบทุนไปด้วย เฉลี่ยค่าใช้จ่ายวันละประมาณ 20,000 บาท แต่ก็ถือว่าเป็นนวัตกรรมที่ได้ผลดีเป็นอย่างมากและหลังเดือนรอมฎอนไปแล้วก็คงจะหาโอกาสในการแจกปิ่นโตเช่นนี้อย่างต่อเนื่องต่อไป
////
งานพ่อขุนเม็งรา…
วันที่ 18 ธันวา…
สถานคุ้มครองสวั…