ผู้ว่าฯ เชียงราย ตรวจโรงพยาบาลสนาม เชื่อสถานการณ์โควิด19ดีขึ้น หลังตัวเลขการตรวจเชิงรุกเริ่มลดลง วันที่ 30เมษายน ประเมินสถานการณ์อีกครั้ง
วันที่ 26 เมษายน 2564 นายประจญ ปรัชญ์สกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ในฐานะประธานคณะกรรมการโรคติดต่อ จังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นายวรวิทย์ ชัยสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย นายแพทย์วัชรพงษ์ คำหล้า นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงราย นายแพทย์ไชยเวช ธนไพศาล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงราย และ นายภูวิศ วรรณพฤกษ์ ปลัดเทศบาลนครเชียงราย ปฏิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรีนครเชียงราย ตรวจความพร้อมของโรงพยาบาลสนาม ที่ศูนย์ประชุมนครเชียงราย เทศบาลนครเชียงราย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย โดยในพื้นที่อาคารเจียงฮาย ดำเนินการติดตั้งเตียงกระดาษ ทั้งหมด 250 เตียง ทั้งหมดแล้ว พร้อมติดตั้งระบบกล้องวงจรปิด ระบบอิเตอร์เน็ตทั้งหมดแล้ว ซึ่งสถานที่ดังกล่าว จะเป็นสถานที่รองรับผู้ป่วยโควิด19 หากเกินจำนวนของ โรงพยาบาล 2 แห่ง ฮอสพิเทล (Hospitel) 1 แห่ง ทั้งนี้โรงพยาบาลสนามดังกล่าวจะให้เป็นสถานที่สำหรับผู้ป่วยชายเท่านั้น
ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ทางคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงราย ก็ได้ ตรวจพื้นที่ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ โรฺงแรมที่เป็นสถานที่ดูแลผู้ป่วยหรือ ฮอสพิเทล (Hospitel) โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
นายประจญ ปรัชญ์สกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ให้ัมภาษณ์ว่า สถานที่การรองรับผู้ป่วยโควิด19 ของจังหวัดเชียงรายถือว่ามีความพร้อมมาก ทั้งโรงพยาบาล ฮอสพิเทล (Hospitel) เพราะถือว่าผู้ป่วยเชียงรายมีไม่มาก และวันนี้ถือว่ามีสัญญานที่ดี เพราะมีผู้ป่วยรายใหม่ เพิ่มขึ้นเพียง 19 ราย จากวานนี้พบมากถึง 34 ราย ทำให้มียอดผู้ป่วยสะสมจำนวน 300 ราย แต่วันนี้ก็รักษาหายไปแล้วจำนวน 129 ราย ทำให้คงเหลือผู้ที่รักษาตัวอยู่ตามสถานที่ต่างๆ ดังกล่าวเพียง 171 ราย โดยผู้ป่วยมีอาการจะรักษาที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ส่วนที่ไม่มีอาการก็ให้อยู่ที่ ฮอสพิเทล (Hospitel) หรือโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มฟล. เมื่อรักษาครบ 10 วันก็ให้กลับไปดูแลตัวเองที่บ้านอีก 14 วันก็ถือว่าหายขาด
ซึ่งตัวเลขดังกล่าวถือเป็นสัญญานที่ดีเพราะวันเดิมมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จาก 17 ราย 19 รายและวันก่อนสูงถึง 34 รายอย่างน่าตกใจ แต่เกิดจากการเข้าตรวจเชิงรุกลดลงเหลือ 19 ราย อย่างไรก็ตามทางจังหวัดก็ยังคงคุมเข้มโดยจะมีการส่งกำลังตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครอง กระจายกันไปตามชุมชนหมู่บ้านต่างๆ ซึ่งไม่ได้ไปกักกันกลุ่มเสี่ยงหรือผู้ที่คณะกรรมการให้กักตัวแต่อย่างใดแต่เพื่อไปดูแลภายใต้สโลแกนของภาษาเหนือที่ว่า “ขาบอยู่บ้าน” (ขาบ หมายถึง นิ่ง หรือ พยายามนิ่ง)
และหากสถานการณ์ยังคงเป็นเช่นนี้ก็เชื่อว่าจำนวนผู้ป่วยจะลดลงไปเรื่อยๆ ไปจนถึงวันที่ 30 เมษายน 2564 จากนั้นก็จะประเมินสถานการณ์กันอีกครั้ง คาดว่าจะเป็นไปในทางดีแต่ช่วงนี้ก็จะมีการใช้คำสั่งและประกาศต่างๆ เพิ่มเติมไปตามสถานการณ์แต่จะใช้ให้น้อยที่สุดเพื่อไม่ให้ลดทอนความเป็นอยู่ของประชาชนจนมากเกินไป ////
งานพ่อขุนเม็งรา…
วันที่ 18 ธันวา…
สถานคุ้มครองสวั…
เมื่อวันที่ 15 …