การศึกษา

“เชื่อมรัดมัดร้อยเรียนรู้วัฒนธรรมปกป้องธรรมชาติพื้นที่เขตเมืองเก่าเชียงแสน”

แชร์ข่าว

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเชิญชมนิทรรศการ “เชื่อมรัดมัดร้อยเรียนรู้วัฒนธรรมปกป้องธรรมชาติพื้นที่เขตเมืองเก่าเชียงแสน”  ณ วัดเจดีย์หลวงต.เวียงอ.เชียงแสนจ.เชียงราย17 – 19 พฤศจิกายน 2564  

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ขอเชิญชมนิทรรศการ เชื่อมรัดมัดร้อยเรียนรู้วัฒนธรรมปกป้องธรรมชาติ  พื้นที่เขตเมืองเก่าเชียงแสนนำเสนอความเชื่อมโยงอันแนบแน่นระหว่างวัฒนธรรมกับธรรมชาติของชุมชนชาวเชียงแสน  สะท้อนผ่านพื้นที่ทางจิตใจ  (ความรู้ ความคิด ความเชื่อ ศรัทธา) สังคม (ระบบนิเวศ ประเพณี) และกายภาพ (ต้นไม้ ภูเขา แม่น้ำ ภาษา วรรณกรรม ศิลปกรรม) พร้อมจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมให้ผู้เข้าชมได้เข้าใจความหมายในมรดกภูมิปัญญาของชาวเชียงแสน 


วัดป่าสักเชียงแสน เมื่อเริ่มสร้างเคยมีต้นสักปลูกล้อมวัดถึง 300 ต้น เป็นวัดสำคัญที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ.1930
ในสมัยของพระเจ้าแสนภู เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ
ต้นสักถือเป็นไม้มงคลประจำเมือง เป็นวัสดุที่สำคัญในการก่อสร้างศาสนสถาน และศาสนาวัตถุต่างๆภายในเมืองเชียงแสนตั้งแต่สมัยอดีต ปัจจุบันชาวเชียงแสนก็ยังคงอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากต้นสัก เช่น การนำใบสักมาทำงานศิลปะ การนำใบสักมาทำธูปและการพิมพ์ลายบนผืนผ้าด้วยใบสัก

นิทรรศการจัดแสดง ณ วัดเจดีย์หลวง ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย  วันที่ 17 – 19 พฤศจิกายน 2564  เวลา 09.00 – 17.00 น . เชื่อมรัดมัดร้อยเรียนรู้วัฒนธรรมปกป้องธรรมชาติพื้นที่เขตเมืองเก่าเชียงแสน เป็นนิทรรศการเพื่อการเรียนรู้วิธีการปกป้องแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติด้วยวัฒนธรรม  แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างภูมิปัญญาของชาวเชียงแสน กับวิถีชีวิตที่ผูกพันกับธรรมชาติ ผ่านการเล่าเรื่องโดย “น้องใบสัก” สัญลักษณ์ของการจัดงาน ภายใต้แนวคิดที่ว่า

  • มรดกภูมิปัญญาของเขตวัฒนธรรมเมืองเก่าเชียงแสน มีจำนวนมากมายทำหน้าที่เชื่อมโยงผู้คนเข้าไว้ด้วยกันและยังเชื่อมโยงคนกับธรรมชาติเข้าไว้ด้วยกัน
  • เขตวัฒนธรรมเมืองเก่าเชียงแสน กว้างไกลไปกว่าเขตที่เราเข้าใจในปัจจุบัน เพราะว่าเขตวัฒนธรรมนั้นเชื่อมโยงพื้นที่สามพื้นที่  คือ พื้นที่ทางจิตใจ พื้นที่ทางสังคม และพื้นที่ทางกายภาพ ซึ่งเชื่อมโยงอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เข้าไว้ด้วยกัน
  • พื้นที่ทางจิตใจ หมายถึง พื้นที่ของมรดกภูมิปัญญาที่จับต้องไม่ได้ เป็นความรู้ ความคิด ความเชื่อ ความศรัทธา และคุณค่า ที่ เชื่อม รัด มัด ร้อย ผู้คนเข้าไว้ด้วยกัน สร้างอัตลักษณ์และความเป็นเมืองเก่ามานาน
  • พื้นที่ทางสังคม หมายถึง พื้นที่ของระบบความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติ และคนกับเวลา เช่น ระบบนิเวศของเมือง ประเพณี และกิจกรรมทางสังคม 
  • พื้นที่ทางกายภาพ หมายถึง สิ่งที่มองเห็นจับต้องได้ มรดกทางธรรมชาติ วัตถุทางวัฒนธรรม ต้นไม้ ภูเขา แม่น้ำ ภาษา วรรณกรรม และศิลปกรรม

ขอเชิญร่วมค้นหาตัวตน “น้องใบสัก” และเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อการเชื่อมโยงวัฒนธรรมกับธรรมชาติ เรียนรู้
ภูมิปัญญามรดกวัฒนธรรมของชาวเชียงแสน ระหว่างวันที่ 17 – 19 ธันวาคม 2564 ณ วัดเจดีย์หลวง ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย


เครื่องสักการะล้านนา ตัวอย่างของความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมกับธรรมชาติที่เชื่อมโยงพื้นที่ชีวิตทั้งสามพื้นที่ ได้แก่
พื้นที่ทางกายภาพ คือ ตัวเครื่องสักการะที่ทำจากธรรมชาติ มีการประดิษฐ์อย่างมีศิลปะ
พื้นที่สังคม คือ การนำเครื่องสักการะไปประกอบพิธีทางประเพณี
พื้นที่ทางจิตใจ คือ ความเชื่อ ระบบทางสังคม ที่เชื่อมโยงอดีตกับปัจจุบัน

 “เชื่อมรัดวัฒนธรรมมัดร้อยเรียนรู้วัฒนธรรมปกป้องธรรมชาติพื้นที่เขตเมืองเก่าเชียงแสน” จัดโดย จังหวัดเชียงราย  มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง พร้อมด้วยภาคีเครือข่าย ได้แก่ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย  องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. พื้นที่พิเศษเชียงราย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน เทศบาลตำบลเวียง และชุมชนในเขตวัฒนธรรมเมืองเก่าเชียงแสน


เรียนรู้ไปกับภูมิปัญญาและระบบนิเวศวัฒนธรรมผ้าทอบ้านสันธาตุ ต.โยนก อ.เชียงแสน จ.เชียงราย หมู่บ้านทอผ้าไหมที่มีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมครบวงจร

“เชื่อม รัด มัด ร้อย เรียนรู้วัฒนธรรม ปกป้องธรรมชาติ พื้นที่เขตเมืองเก่าเชียงแสน”  เป็นส่วนหนึ่งของการหาคำตอบเรื่อง “การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน และเป็นมิตรกับทุกคน” โดย โครงการพัฒนาระบบนิเวศเพื่อการปกป้องแหล่งท่องเที่ยวและมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเพื่อความยั่งยืน (EPISG)  ม.แม่ฟ้าหลวง ดำเนินงานตามเกณฑ์ Global Sustainable Tourism Council (GSTC) 

เพื่อที่จะสร้างระบบสารสนเทศระบบนิเวศมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ให้นำไปสู่การรับรองมาตรฐานกรีนเดสทิเนชั่นที่เป็นชุดมาตรฐานที่ GSTC ยอมรับ (GSTC –Recognized Standards) พัฒนาขึ้นมาโดยองค์กร Green Destinations 


กลุ่มชาติพันธุ์ เมี่ยน หรือเย้า เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่ร่วมสร้างวัฒนธรรมอันหลากหลายให้กับเมืองเชียงแสน
มีพรสวรรค์ด้านงานหัตถกรรม ไม่ว่าจะเป็นการทำเครื่องเงิน และงานปักผ้า ลวดลายมาจากนิทานที่มีความผูกพันกับธรรมชาติ เช่น ลายซม (คน) ลายก้อนยอ (แมงมุม) และลายสุนัขมังกร (เทพเจ้าผันหู)

โดยนำตัวชี้วัดจาก Green Destination (GD) มาเป็นโจทย์ในการหาประสิทธิภาพของการปกป้องแหล่งท่องเที่ยวและระบบนิเวศมรดกทางภูมิปัญญา ด้านที่ 4 : วัฒนธรรมและประเพณี (Culture & Tradition) แหล่งท่องเที่ยว มีการหลีกเลี่ยงสิ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อคุณค่าและสถานะของท้องถิ่น และระบบนิเวศมรดกทางวัฒนธรรมทั้งในแหล่งท่องเที่ยวและพื้นที่โดยรอบ  ดำเนินงานในพื้นที่เมืองเก่าเชียงแสน จ.เชียงราย และเมืองเก่าน่าน  จ.น่าน


ข้าวเหนียวเขี้ยวงู ธัญพืชท้องถิ่นในที่ราบเมืองเชียงแสนอันอุดมสมบูรณ์
Kao Krai News

Recent Posts