ข่าว

Design Together for Chiangrai

แชร์ข่าว

“Design Together for Chiangrai” พร้อมผลักดันเชียงราย เสนอยูเนสโก เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์

วันที่ 24 มิถุนายน 2565  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา และภาคีเครือข่าย ร่วมเป็นเจ้าภาพดำเนินกิจกรรม Design Together for Chiangrai #1 โดยได้รับการสนับสนุนจาก องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) อพท.จัดกิจกรรมขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จ.เชียงราย ภายใต้สโลแกน “Design Together for Chiangrai” กิจกรรมมีการระดมเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชนและประชาชนทั่วไป เพื่อรับฟังการปาฐกถาพิเศษ จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งกลุ่มระดมข้อมูล จัดผลงานทางศิลปะของศิลปินชาวเชียงราย เสวนาด้านการออกแบบ ที่วิหารดิน มหาวิชชาลัยพุทธเศรษฐศาสตร์ ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน ต.ห้วยสัก อ.เมือง  จ.เชียงราย

โดย พระเมธีวชิโรดม (ว.วชิรเมธี) ผู้ก่อตั้งศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์เกิดจากตัวคนและตัวคนจะต้องอาศัยจิตใจที่ตั้งใจมั่นร่วมกัน สำหรับ จ.เชียงราย ถือเป็นเมืองที่มีศักยภาพสูงในเรื่องของการออกแบบโดยเฉพาะมีศิลปินอาศัยอยู่ในพื้นที่รวมกันมากกว่า 300 คน ซึ่งดีกว่าเมืองอื่นๆ ในประเทศไทย รวมทั้งมีศิลปิน 2 คนที่เป็นเลิศและมีชื่อเสียงไปทั่วโลกคืออาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติผู้ล่วงลับไปแล้ว และปัจจุบันมีอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติผู้สร้างศิลปินที่วัดร่องขุ่น อ.เมืองเชียงราย สำหรับไร่เชิญตะวันนั้นจะคิดค้นเรื่องการทำอย่างไรให้ชีวิตมีคุณค่า ฯลฯ ดังนั้นการที่หน่วยงานองค์กรต่างๆ มีการส่งเสริมให้เชียงรายเป็นเมืองสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยวจึงเป็นเรื่องที่ดีอย่างมาก

ด้าน ดร.วาสนา พงศาปาน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาขีดความสามารถการท่องเที่ยว องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยี่งยืน (องค์การมหาชน) กล่าวว่าปัจจุบันองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก ให้คำจำกัดความของเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ว่าคือความร่วมมือของชุมชน ท้องถิ่น ภาครัฐ ในการสร้างสรค์เมืองโดยมีศิลปะ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ฯลฯ รว่มกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการพัฒนาให้เชื่อมถึงการสร้างการท่องเที่ยวและธุรกิจ ฯลฯ ปัจจุบันมีเครือข่ายดังกล่าวจำนวน 295 เมือง สำหรับประเทศไทยนั้นองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยี่งยืน (องค์การมหาชน) ได้นำเสนอ จ.สุโขทัย ไปยังยูเนสโก เมื่อปี 2562 และ จ.เชียงราย และ จ.เพชรบุรี ในปี 2563 เพราะเชียงรายถือว่ามีความโดดเด่น 

ดร.วาสนา กล่าวด้วยว่า กระนั้นที่ผ่านมาพบว่า จ.สุโขทัย และ จ.เพชรบุรี ได้รับการรับรองจากยูเนสโกในการเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ดังกล่าวไปแล้ว ยังคงเหลือ จ.เชียงราย ดังนั้นทางองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยี่งยืน (องค์การมหาชน)  จึงมุ่งขับเคลื่อนให้ จ.เชียงราย ได้รับการรับเลือกให้ได้ต่อไปโดยเร่งดำเนินการระหว่างปี 2565-2566 นี้ โดยครั้งนี้มีมหาวิทยาลัยพะเยาเป็นที่ปรึกษาและร่วมกับองค์กรเครือข่ายต่างๆ ในการดำเนินการให้ไปสู่ความสำเร็จให้ได้ต่อไป.

Kao Krai News

Recent Posts