ชาวไร่ ยาสูบรวมตัว ร้อง ยสท. กดราคารับซื้อ-ตัดโควต้ากระทบรายได้ เพราะต้นทุนผลิตแพงทุกอย่าง
วันที่ 31 สิงหาคม 2565 ที่ศาลากลางจังหวัดเชียงราย นายกิตติทัศน์ ผาทอง ตัวแทนสมาคมผู้บ่มผู้เพาะปลูกและผู้ค้าใบยาสูบ จ. เชียงราย พร้อมด้วย นายณรงค์ศักดิ์ กิจพิทักษ์ ประธานเครือข่ายชาวไร่ยาสูย จ.เขียงราย ตลอดจนกลุ่มคณะกรรมการเครือข่ายชาวไร่ยาสูบและตัวแทนเกษตรกรชาวไร่ยาสูบ จ.เชียงราย กว่า 200 คน ได้พากันเดินทางมาปักหลักชุมชนเพื่อเรียกร้องขอความเป็นธรรมและยื่นหนังสือต่อศุนย์ดำรงธรรมจังหวัดเชียงราย ผ่านไปถึงนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อขอให้ช่วยเหลือจากปัญหาต้นทุนการผลิตใบยาสูบที่เพิ่มสูงขึ้น และการลดโควตารับซื้อใบยาพันธุ์เวอร์จิเนียสำหรับฤดูกาลผลิต 2565/66 ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อผู้ปลูกไร่ยาสูบอย่างหนัก
โดย นายณรงค์ศักดิ์ เปิดเผยว่า ชาวบ้านมาเรียกร้องใน 2 ประด็นคือประเด็ยเรื่องคือปัจจัยการผลิต ซึ่งปัจจุบันการผลิตของชาวไร่ยาสูบ ทั้งปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ค่าไฟฟ้า ค่าฟืน และค่าแรงงานเพิ่มสูงขึ้นกว่า 60 % ทำให้ต้นทุนในการผลิตยาสูบเพิ่มขึ้น จึงอยากให้ทางการยาสูบช่วยปัจจุยัการผลิตให้เหมาะสมตามความเป็นจริงที่มันสูงขึ้นตามท้องตลาด ส่วนประเด็นที่สองคืออยากให้การยาสูบชะลอโควต้าที่จะจัดซื้อในฤดูการเพาะปลูก 2565/2566 นี้ออกไปก่อน เนื่องจากชาวไร่ยาสูบได้รับผลกระทบจากการลดโควต้าดังกล่าว เนื่องจากการปรับลดภาษีนับตั้งแต่ 2560 มีการปรับลดโควต้าการรับซื้อไปแล้ว 46 เปอร์เซ็นต์ และล่าสุดปีนี้ทางการยาสูบจะมีการปรับลดโควต้ารับซื้ออีก 25 เปอร์เซ็นต์ ชาวไร่ก็แทบจะไม่โควต้าในการปลูกไร่ยาสูบเพื่อดำรงชีพในฤดูกาลปลุกปีนี้เลย
นายณรงค์ศักดิ์ กล่าวว่า เฉพาะพื้นที่ จ.เชียงรายมีการปลูกยาสูบกันอย่างแพร่หลายเป็นอาชีพหลักแทบทั้ง 18 อำเภอ โดยเฉพาะอ.แม่ลาว อ.แม่จันและอ.แม่สาย ที่มีสถานีบ่มใบยาที่รับซื้อใบยาสูบแก่เกษตรกร มีผู้ที่เกี่ยวข้องในการเพาะปลูกกว่า 1,000 ราย พื้นที่ปลูกกว่า 10,000-15,000 ไร่ การปรับลดโควต้าทำให้ปีที่ผ่านมาการยาสูบให้โคว้ารับซื้อแก่เกษตรกรประมาณ 3 ล้านกว่ากิโลกรัม ในปีนี้ปรับลงอีกร้ยอละ 25 ทำให้คงเหลือโคว้าประมาณ 1.3 ล้านกิโลกรัม ขณะที่พื้นที่และกลุ่มเกษตรกรที่เพาะปลูกยังคงเท่าเดิม จึงทำให้เกิดเป็นปัญหาอย่างรุนแรง
นายณรงค์ กล่าว ด้วยว่าความจริงแล้วการยาสูบมีรายได้ให้กับรัฐบาลจากชาวไร่ยาสูบปีละกว่า 6 หมื่นล้านบาท แต่วงเงินที่จะมาซื้อใบยาสูบจากชาวไร่เป็นวงเงินแค่ 1,000 กว่าล้านบาท ไม่น่าจะให้ส่งผลกระทบต่ออาชีพการปลูกเพราะถือเป็นอาชีพหลักที่ทำสืบทอดกันรุ่นสู่รุ่นตั้งแต่ดั้งเดิม แต่เพิ่มมีปัยหามาตั้งแต่ปี 2560 นับแต่มีการปรับโครงสร้างภาษีจนส่งกระทบต่อความยั่งยืนของอาชีพชาวไร่ยาสูบ และทุกวันนี้ยิ่งมีแนวโน้มที่จะกระทบหนัก ซึ่งอยากให้ทางรัฐบาลหรือทางการยาสูบให้ความสำคัยกับเกษตรกชาวไร่ยาสูบเพราะถือเป็นต้นน้ำของการผลิต การที่จะหันไผลิตพืชอื่นๆก็ไม่มีพืชไหนมารองรับอาชีพให้กับพวกตนและพวกตนก็ยังรักและหวงแหนอาชีพนี้อยากสืบทอดให้กับลุกหลานต่อไปในอนาคต ซึ่งทางการยาสูบจะต้องกำหนดให้ชัดเจนภายในเร็วๆนี้เนื่องจากเดือนหน้าจะเริ่มฤดูเพาะปลูกจะมีกาเริ่มลงเพาะกล้าพันธุ์ ซึ่งเกษตรกรจะได้มีการเตรียมความพร้อมถุก หากยังไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจนก็คงจะต้องมีการขับเคลื่อนกันไปเรียกร้องที่กรุงเทพมหานครกันต่อไป
ด้าน นายสุพจน์ เดชอูป กรรมการเครือข่ายไร่ยาสูบ จ.เชียงราย กล่าวว่า ต้นทุนหลักๆในการผลิตใบยาสูบ จะเป็นเองของค่าแรง โดย 1 ใน 3 ของราคาขายจะเป็นไปตกอยู่ในเรื่องค่าแรง อีก ส่วนหนึ่งจะเป็นค่าปุ๋ยส่วนที่เหลือจะเป็นค่าจัดการต่างๆ ซึ่งล่าสุดมีการคำนวนต้นทุนการผลิตจากราคาปุ๋ย ราคาค่าแรงที่เพิ่มขึ้นต้นทุนการผลิตจะอยู่ที่กิโลกรัมละประมาณ 116 บาท แต่การยาสูบรับซื้อเพียงกิโลกรัมละ 120 กว่าบาท จะเหลือเงินส่วนต่างไม่มาก บางรายได้โควต้าเพียง 1,000 กิโลกรัมจะเหลือเงินรายได้ 6 เดือนในการเพาะปลุกเพียง 3,000-4,000 บาทเท่านั้น ซึ่งเป็นราคาที่ไม่สมดุลย์ยิ่งการปลุกใบยาสูบเป็นพืชที่ต้องใช้ปุ๋ยค่อนข้างมาก 1 ไร่ใช้ปุ๋ยถึง 200 กิโลกรัมและปุ๋ยยาสูบเป้นปุ๋ยเฉพาะที่มีราคาแพงกว่าปุ๋ยทั่วไป
นายสุพจน์ กล่าวด้วยว่า ซึ่งปกติก่อนหน้านี้ปุ๋ยยูเรียตามท้องตลาดอยู่ที่ราคาประมาณ 700 บาท ส่วนปุ๋ยยาสูบจะอยู่ประมาณ 1,400 บาท ยิ่งปีนี้ปุ๋ยยูเรียขยับราคาขึ้นสูงถึง 1,300 บาทจะทำให้ปุ๋ยสำหรับยาสูบสูงขึ้นไไปไม่ต่ำกว่ากระสอบละเกิน 2,500 บาทอย่างแน่นอน ซึ่งการยาสูบจะช่วยเหลือต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นเพียง 6.25 บาท ซึ่งชาวไร่ขาดทุนตั้งแต่ต้นแต่กลับได้รับการช่วยเลหือแค่นิดเดียว ขณะที่การยาสูบรายงบดุลปี 2563 ให้โบนัสพนักงาน 52 ล้านบาท และปี 2564 จัดสรรงบประมาณให้พนักงานอีก 108 ล้านบาท เมือ่เทียบกับเงินช่วยเหลือชาวไร่เป็นเงินเล้กน้อยมาก แสดงให้เห็นว่าทางการยาสูบให้ความสำคัยกับพนักงานมากกว่าชาวไร่ แค่ลำพังเงินชดเชย ให้เกษตรกร 159 ล้านบาทกว่าจะได้ก็ยากเย็น ทางการยาสูบอ้างว่าขาดทุนให้ไปเรียกร้องจากรัฐบาลส่วนกลางเอาเอง
ล่าสุดนายสมบูรณ์ ศรีไพศาลเจริญ ผู้อำนวยการศูนย์ดำรงค์ธรรม จ.เชียงราย ได้เข้ารับเรื่องจากกลุ่มเกษตรกรโดยรับปากจะนำเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้รับทราบและพิจารณาดำเนินการก่อนที่จะเข้าสู่ฤดูกาลเพาะปลูกใบยาสูบตั้งแต่เดือน ต.ค.2565 เป็นต้นไป ทำให้กลุ่มเกษตรกรสลายตัวและกลับไปรอฟังผลต่อไป…
งานพ่อขุนเม็งรา…
วันที่ 18 ธันวา…
สถานคุ้มครองสวั…
เมื่อวันที่ 15 …