“เทศกาลสีสันกาสะลอง” ต้นคริสต์มาสหมอกพันวาความสูง15 เมตร ต้นเดียวในประเทศไทย ที่ เซ็นทรัลเชียงราย

แชร์ข่าว

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 นายภาสกร บุญญลักษม์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ดร.ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาด บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)  หม่อมหลวง ดิศปนัดดา ดิศกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปภัมภ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวของทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมกันเปิด “เทศกาลสีสันกาสะลอง” เพื่อสร้างสีสันต้อนรับลมหนาวเอาใจนักท่องเที่ยว ที่ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เชียงราย

โดยเป็นการเปิดไฟ ต้นคริสต์มาสหมอกพันวา ความสูง 15 เมตร ที่ตกแต่งด้วย งานผ้าทอมือขนาด  1,000 วา  หรือ 2,000 เมตร ที่เป็นการร่วมมือกันของชาวบ้าน กลุ่มชนเผ่าบนพื้นที่ดอยตุงที่ใช้เวลาว่างมาร่วมแรงร่วมใจถักทอผ้า 

ดร.ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาด บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) เผยว่า “การเติบโตไปคู่กับคนไทยและสังคมไทยอย่างยั่งยืน คือการเล็งเห็นคุณค่าและวัฒนธรรมท้องถิ่น เซ็นทรัลพัฒนาจึง ได้ออกแบบศูนย์การค้าในจังหวัดต่างๆ โดยการใช้เสน่ห์และกลิ่นอายท้องถิ่น ผสานเข้ากับดีไซน์งานสถาปัตยกรรมสู่การออกแบบที่ร่วมสมัย เช่น ที่เชียงราย เรามีการนำดอกกาสะลองมาออกแบบเป็นฟาซาดของศูนย์ฯ เพื่อสร้างศูนย์กลางการใช้ชีวิตที่ทันสมัย ใกล้ชิดกับชุมชน ใส่ใจในบริบทวัฒนธรรม และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยปีนี้ยังถือเป็นโอกาสสำคัญที่เซ็นทรัลพัฒนาอยู่เคียงข้างคนไทยมายาวนานกว่า 40 ปี การออกแบบต้นคริสต์มาสหมอกพันวาครั้งพิเศษนี้ ต้องขอขอบคุณทางดอยตุง ที่ให้เราได้มีส่วนช่วยสนับสนุนและสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านและชนเผ่าต่างๆ บนดอย ที่นำวัสดุจากธรรมชาติจากงานฝีมือมาตกแต่งต้นคริสต์มาส นับว่าเป็นงาน Craft Ornament ที่มาจากใจของพี่น้องชาวล้านนาอย่างแท้จริง”

ดร.ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาด บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)

หม่อมหลวง ดิศปนัดดา ดิศกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปภัมภ์ กล่าวว่า ต้นคริสต์มาสหมอกพันวา ภายใต้คอนเซปต์ “พันดารกา” ถักทอด้วยผ้าธรรมชาติและวัสดุในท้องถิ่นสื่อถึงการใช้ชีวิตทีเรียบง่ายและผูกพันกับธรรมชาติ เช่น ไม้ไผ่  เถาสน  ไหมย้อมสี  ผ้าฝ้าย และหญ้าแฝก โดยได้รับแรงบันดาลใจจากลายปักผ้าและของตกแต่งบนเครื่องแต่งกายของ 6 ชนเผ่าต่างๆในจังหวัดเชียงราย ได้แก่ อาข่า ลาหู่ ลัวะ ไทใหญ่ ไทลื้อและม้ง ที่แต่ละชนเผ่าจะมีอัตลักษณ์การแต่งกายที่แตกต่างกันออกไป เช่นการประดับโลหะที่หมวก การปักลวดลายประจำเผ่าหรือประดับผ้าแถบสีสันสดใส  โดยทั้ง 6 ชนเผ่าได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตกแต่งต้นคริสต์มาสหมอกพันวาในครั้งนี้   สำหรับยอดต้นคริสต์มาส ประดับด้วย “ต๋าแหลว”  ที่มักจะใช้ในพิธีกรรมล้านนาเช่นพิธีสืบชะตาหรือประดับไว้ตรงประตู มีลักษณะเหมือนกับกระจกแปดทิศ เพื่อดักความชั่วร้าย สำหรับ“ต๋าแหลว”   สีทองจะสื่อถึงความหลากหลายของชาติพันธุ์ในเชียงรายที่อยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข

หม่อมหลวง ดิศปนัดดา ดิศกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปภัมภ์ เผยว่า “ต้นคริสต์มาสหมอกพันวา  ตั้งชื่อตามความยาวของงานผ้าทอมือขนาด  1,000 วา  หรือ 2,000 เมตร ที่เป็นการร่วมมือกันของชาวบ้าน กลุ่มชนเผ่าบนพื้นที่ดอยตุงที่ใช้เวลาว่างมาร่วมแรงร่วมใจถักทอผ้า ส่วนคำว่า หมอก  นำมาจากการที่จังหวัดเชียงรายจะเกิดปรากฏการณ์ชมหมอกที่สวยงาม ในช่วงต้นเทศกาลคริสต์มาส คือตั้งแต่ เดือน พ.ย. ถึง ม.ค.เป็นประจำทุกปี โดยปีนี้ตกแต่งภายใต้คอนเซ็ปต์   พันดารกา หมายถึง “ดาวนับพันดวง” ที่เชียงรายเก็บมาแบ่งปันให้กับทุกคน เพราะความสวยงามที่โดดเด่นแห่ง จ.เชียงราย ที่มีดอยและภูเขา ที่เหมาะกับการชมความงดงามแห่งดวงดาวมากมาย และยังหมายถึงการแบ่ง“ปัน”ความสุข สดใส ในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีโดยการใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น และการสื่อถึงวัฒนธรรมเครื่องแต่งกายอัตลักษณ์แห่งชาติพันธุ์ของเชียงรายที่สอดประสานกันในแต่ละชั้น เพื่อแสดงถึงความหลากหลายที่สามารถอยู่รวมกันได้อย่างกลมเกลียว”

ต้นคริสต์มาสหมอกพันวา ภายใต้คอนเซปต์ “พันดารกา” ถักทอด้วยผ้าธรรมชาติและวัสดุในท้องถิ่นสื่อถึงการใช้ชีวิตทีเรียบง่ายและผูกพันกับธรรมชาติ เช่น ไม้ไผ่  เถาสน  ไหมย้อมสี  ผ้าฝ้าย และหญ้าแฝก โดยได้รับแรงบันดาลใจจากลายปักผ้าและของตกแต่งบนเครื่องแต่งกายของ 6 ชนเผ่าต่างๆในจังหวัดเชียงราย ได้แก่ อาข่า ลาหู่ ลัวะ ไทใหญ่ ไทลื้อและม้ง ที่แต่ละชนเผ่าจะมีอัตลักษณ์การแต่งกายที่แตกต่างกันออกไป เช่นการประดับโลหะที่หมวก การปักลวดลายประจำเผ่าหรือประดับผ้าแถบสีสันสดใส  โดยทั้ง 6 ชนเผ่าได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตกแต่งต้นคริสต์มาสหมอกพันวาในครั้งนี้   สำหรับยอดต้นคริสต์มาส ประดับด้วย “ต๋าแหลว”  ที่มักจะใช้ในพิธีกรรมล้านนาเช่นพิธีสืบชะตาหรือประดับไว้ตรงประตู มีลักษณะเหมือนกับกระจกแปดทิศ เพื่อดักความชั่วร้าย สำหรับ“ต๋าแหลว”   สีทองจะสื่อถึงความหลากหลายของชาติพันธุ์ในเชียงรายที่อยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข

นอกจากนี้ ยังได้มีการจัดงานดอกไม้ Chiangrai Dancing Flower (วันที่ 1-7 ธ.ค. 65)  “Wish Upon A Star กอดหมอก มองดาว” ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากภูชี้ฟ้า ภูชี้ดาว และภูชี้เดือน ด้วยสวนดอกไม้ นานาพันธ์ศิลป์ สร้างบรรยากาศด้วยเสียงดนตรีร่วมสมัย พร้อมกับการตกแต่ง ประดับประดาด้วยเหล่ามวลดอกไม้ ต้นไม้หลากสีสัน และดวงดาว ต๋าแหลว ประดับประดา ทั่วศูนย์การค้าฯ 

พร้อมเลือกซื้อสินค้าชุมชน งานหัตถกรรมชนเผ่าแบบวัฒนธรรมดั้งเดิม  รวมถึงสินค้าจากไร่ชาฉุยฟง แหล่งเพาะปลูกใบชาชื่อดังในจังหวัดเชียงราย มานั่งจิบชา ไปพร้อมกับการทานของหวานที่มีส่วนผสมของชาเขียว และอีกหนึ่งไฮไลต์จากสิงห์ปาร์ค เชียงราย ได้นำครัวภูภิรมย์มาทำเมนูชิมอาหารที่เป็นชื่อร้าน คือ สลัดภูภิรมย์ ,หมี่ผัดภูภิรมย์ ,ไก่ย่างภูภิรมย์ และอาหารที่ปรุงจากใบชายอดชาสดทอดกรอบ พร้อมกันนี้ยังมีร้านอาหารท้องถิ่น ส่งตรงจากดอยสู่ภาคพื้นดิน

สำหรับงาน “เทศกาลสีสันกาสะลอง” จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เพื่อสร้างสีสันและต้อนรับนักท่องเที่ยวที่จะมารับลมหนาวภาคเหนือในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง พร้อมเผยแพร่ เรื่องราวทางวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ทรงคุณค่าแห่งล้านนาให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นโดยได้นำเทคนิคต่างๆ เข้ามาผสมผสาน โดยแต่ละปีจะมีไฮไลท์สุดพิเศษแตกต่างกันออกไป เพื่อมอบประสบการณ์แปลกใหม่ให้กับชาวเชียงรายและนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมงาน โดยปีนี้จัดให้มีขึ้นระหว่างเดือนพฤศจิกายน ยาวไปเดือนสิ้นเดือนมกราคม 2566

ข่าวอื่นๆ