เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บ้านป่าชุมชนในหมู่บ้านห้วยไคร้ ตำบลเวียง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย นายอนันต์ ปริศนา ผู้ใหญ่บ้าน บ้านชุมชนบ้านห้วยไคร้ ต.เวียง อ.เทิง จ.เชียงราย ได้มีการจัดกิจกรรมฟังธรรมขอฝน เลี้ยงผีขุนห้วยไคร้ ตามความเชื่อของชุมชน เพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ซึ่งมักจะทำพิธีในช่วงต้นฤดูฝนของทุกปี นอกจากนี้ยังเป็นการสืบทอดประเพณีท้องถิ่นให้สืบทอดต่อไปถึงลูกหลาน
โดยพิธีการฟังธรรมขอฝนนั้น จะทำที่บริเวณอ่างเก็บน้ำของชุมชน พิธีกรรมขอฝน เป็นการที่พระสงฆ์ล้านนา จำนวน 5 รูป ได้ทำการเทศนาธรรมพื้นเมืองเหนือ ของทางภาคเหนือของประเทศไทย ตามความเชื่อพระพุทธศาสนา ธรรมที่เทศนา ชื่อว่า ธรรมมัจฉาพระยาปลาช่อน คติความเชื่อโบราณใช้เทศนาเพื่อให้เกิดฝนตกต้องตามฤดูกาล ในส่วนของการเลี้ยงผีขุนห้วย ผู้เฒ่าและชายในหมู่บ้านจะเดินทางเข้าไปในป่าที่ลึกห่างจากหมู่บ้านซึ่งถือเป็นจุดที่เป็นต้นน้ำ เพื่อได้ทำการบอกกล่าวไหว้วอน ผีขุนห้วยให้ประทานฝน ขอฝนให้เพียงพอในการทำการเกษตร ให้ฝนฟ้า เป็นปกติ พืชไร่ นาข้าวอุดมสมบูรณ์ ไม่ให้เกิดความเสียหายจากพายุ ลูกเห็บหรือโรคระบาด ยังรวมไปถึงเรื่องการคุ้มครองคนในชุมชนให้ปลอดภัย ไม่มีเภทภัยร้ายเข้ามายังชุมชน ทั้ง คนและสัตว์เลี้ยง
นาย วิษณุ น้อยต๊ะ ผู้เฒ่าชาวชุมชนห้วยไคร้ กล่าวว่า การเลี้ยงผีขุนห้วย เป็นจารีตประเพณีที่สืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน เพื่อขอให้ฝนฟ้าตกตามฤดูกาล โดยการเลี้ยงผีขุนห้วยที่ผ่านมา ทำให้เกิดฝนตกต้องตามฤดูกาล จึงเป็นประเพณีที่สืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้
นายอนันต์ ปริศนา กล่าวว่า การฟังธรรมขอฝน เลี้ยงผีขุนห้วยมีการทำมาทุกปี ปีไหนไม่ทำไม่ได้ก็จะต้องทำ ฝนตกหรือไม่ตกก็ต้องทำ ถ้าไม่ทำผู้เฒ่าผู้แก่เริ่มเดือนร้อนให้กับทางผู้นำแล้ว หรือว่าหากเกิดเหตุไม่ดีขึ้นในหมู่บ้าน ก็จะโทษผู้นำที่ไม่เลี้ยงผีขุนห้วย ทำให้ต้องได้เลี้ยงทุกปี ซึ่งเป็นความเชื่อที่สืบต่อกันมาของชาวบ้าน การเลี้ยงผีขุนห้วยเป็นการอ้อนวอนต่อผี เพื่อขอน้ำฝนให้อุดมสมบูรณ์ รวมถึงการขอให้คนในหมู่บ้านปลอดภัย จากพายุ ภัยพิบัติต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับสัตว์เลี้ยง ผลผลิตทางการเกษตร รวมถึงคุ้มครองชุมชนให้ปลอดภัยจากโรคระบาด อยู่ร่มเย็นเป็นสุข
ทางด้าน ผศ.ดร.สหัทยา วิเศษ ผู้อำนวยการหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัญฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา กล่าวว่า การจัดทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับประเพณีฟังธรรมขอฝน เลี้ยงผีขุนห้วย มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาสภาพของประเพณีที่มีอยู่ในปัจจุบัน และแนวทางในการอนุรักษ์ ส่งเสริมประเพณีนี้อย่างไร ในส่วนของชุมชนซึ่งในส่วนของฟังธรรมของฝนเรื่องของประเพณีของฝน ถือว่าเป็นประเพณีที่ขึ้นบัญชีในมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติในเมื่อปี 2557 ซึ่งเป็นประเพณีพิรุณศาสตร์ ซึ่งในส่วนของประเพณีฟังธรรมขอผลเป็นประเพณีของท้องถิ่นในท้องถิ่นของประเทศไทยยังมีการทำอยู่ ซึ่งจะเรียกชื่อต่างๆกันไปเช่นแห่บั้งไฟ จุดบั้งไฟ แห่นางแมว หรือว่าเป็นการแห่ภาคอุปคุต ที่บ้านห้วยไคร้เป็นการฟังธรรม เพื่อการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำห้วยไคร้ซึ่งก็จะมีทั้งเรื่องของการเรียนหนังสือควบคู่ไปกับการฟังธรรมของฝนด้วย
ซึ่งการฟังธรรมของผมก็เป็นเรื่องของของทางพระพุทธศาสนาโดยพระสงฆ์จะสวดคาถาที่เรียกว่าคาถาปลาช่อน เป็นคาถาที่เกี่ยวกับพระเวสสันดร ซึ่งก็จะทำให้ชาวบ้านได้มีความตระหนักได้รับรู้ว่าเขาจะต้องปกป้องรักษาป่าต้นน้ำซึ่งการทำพิธีนี้เป็นการขอฝนจากเจ้าป่าเจ้าเขาที่ดูแลรักษาป่าต้นน้ำก่อนฤดูการทำนาประมาณเดือนมิถุนายน ซึ่งชาวบ้านจะทำพิธีนี้เป็นประจำทุกปี และมีคุณค่าในทางจิตใจของชุมชนหลังจากทำพิธีนี้เสร็จชาวบ้านมีความเชื่อว่าจะมีฝนตกมาประมาณ 2-3 วันข้างหน้า ในส่วนอีกอันหนึ่งก็คือเราก็เห็นถึงพลังของชุมชนในการมีส่วนร่วมที่จะจัดให้เกิดประเพณีนี้ขึ้นมา.
งานพ่อขุนเม็งรา…
วันที่ 18 ธันวา…
สถานคุ้มครองสวั…
เมื่อวันที่ 15 …