เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2566 นายนิพนธ์ จำนงสิริศักดิ์ ผู้ตรวจการกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม นายวรวิทย์ ชัยวิมสกุล ผู้อำนวยการกองอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ นายสมเกียรติ ปูกา ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงราย ได้เดินทางมาตรวจราชการ เพื่อผลักดันพื้นที่ชุ่มน้ำในพื้นที่แม่น้ำอิงตอนล่าง สู่การขึ้นทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ ตามอนุสัญญาแรมซ่าไซร์ เพื่ออนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบนิเวศ
ซึ่งได้มีการบรรยายสรุปผลการดำเนินโครงการส่งเสริมการจัดการป่าชุ่มน้ำในลุ่มน้ำอิงตอนล่างอย่างยั่งยืนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นจังหวัดเชียงราย ที่ได้รับการสนับสนุนเงินกองทุนสิ่งแวดล้อม โดยนายสายัณน์ ข้ามหนึ่ง ผอ.สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต นายสมเกียรติ เขื่อนเชียงสา นายกสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต เพื่อรับทราบข้อมูลพื้นที่และการนำเสนอเพื่อขึ้นทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำ จากนั้นในช่วงบ่าย ได้ลงพื้นที่ป่าชุ่มน้ำบ้านป่าข่า ต.ป่าตาล อ.ขุนตาล จ.เชียงราย เพื่อสำรวจพื้นที่ป่าชุ่มน้ำ โดยมี นายสอน เทพสมบัติ ผู้ใหญ่บ้านบ้านป่าข่า ม.8 ต.ป่าตาล อ.ขุนตาล จ.เชียงราย พร้อมกับกรรมการหมู่บ้านให้การต้อนรับ ซึ่งการขึ้นทะเบียนอยู่ในระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายลงนามส่งเอกสารRamsar Information sheetถึงอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ เพื่อดำเนินการต่อไป
สำหรับพื้นที่ลุ่มน้ำอิงตอนล่างเสนอขึ้นทะเบียนครอบคลุมพื้นที่ลำน้ำอิง 133 กิโลเมตรและพื้นที่ป่าชุ่มน้ำ 7 หมู่บ้าน รวมพื้นที่ 8,587 ไร่ ในพื้นที่ป่าชุ่มน้ำบ้านป่าข่าหรือป่าส้มแสงหมู่ที่ 8 ตำบลป่าตาล อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งผืนป่าในลุ่มน้ำอิง โดยมีเนื้อที่ประมาณ 264 ไร่เป็นป่าชุ่มน้ำที่อัตลักษณ์พิเศษหายากที่อาจจะมีที่เดียวในประเทศไทย จากการวิจัยสำรวจเบื้องต้น พบว่าเป็นป่าชุ่มน้ำที่มีสังคมพืช ป่าชุมแสง ที่มีขนาดใหญ่ มีอายุมากกว่า 300 ปี
ซึ่งผืนป่าดังกล่าวชุมชนได้อนุรักษ์และปกป้องพื้นที่ป่ามาตั้งแต่อดีตไว้เป็นพื้นที่เลี้ยงสัตว์และแหล่งอาหาร ปัจจุบันป่าผืนนี้ยังมีคุณค่า ความสำคัญต่อวิถีชีวิตของชุมชนเนื่องจากเป็นแหล่งพืชอาหาร ไม้ใช้สอย สมุนไพรและแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำในช่วงน้ำท่วมหลาก ซึ่งจะมีสภาพเป็นพื้นที่ป่าโคกและป่าชุ่มน้ำ (seasonal wetland) ทำให้พื้นที่มีความเป็นเอกลักษณ์ทางนิเวศวิทยาที่ผสมผสานทั้งนิเวศวิทยาป่าไม้และแม่น้ำ ป่าชุ่มน้ำลุ่มน้ำอิงบ้านป่าบง เป็นหนึ่งในพื้นที่ป่าชุมน้ำในจำนวน 26 ผืน ที่ยังคงเหลืออยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำอิง มีการดูแลจัดการโดยชุมชน ให้คงอยู่มาอย่างยาวนานเกิดเป็นความผูกพันธ์หวงแหนในทรัพยากรป่าไม้ ที่เป็นเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของคนในชุมชน
งานพ่อขุนเม็งรา…
วันที่ 18 ธันวา…
สถานคุ้มครองสวั…
เมื่อวันที่ 15 …