เจอมิจฉาชีพไซเบอร์…จะรู้ได้ไงคนไหนจริง – คนไหนโจร❗️
ใครเคยเจอ SMS แปลก ๆ แฝงเข้ามากับ SMS เดียวกับธนาคารบ้าง…ยกมือขึ้น 🙋🏻♂️
💚 รู้ก่อนก็ทันกว่า! วันนี้ AIS อุ่นใจ CYBER ร่วมกับตำรวจไซเบอร์ ขอชวนทุกคนมา “จับโป๊ะ! กับสารพัดจุดสังเกตไม่ให้โดนหลอก” เจอแบบนี้มิจฉาชีพชัวร์!
💢 SMS : ย้ำอีกครั้ง! ตอนนี้ธนาคารยกเลิกการส่ง SMS ที่มีลิงก์ให้ลูกค้าแล้วนะคร้าบบ ดังนั้น เจอลิงก์ปุ๊บห้ามคลิกเด็ดขาด เพราะอาจเป็นโปรแกรมแฮกเกอร์ได้!
💢 เว็บไซต์ : ถ้าเพื่อน ๆ ได้รับอีเมลหรือเสิร์ชเจอเว็บธนาคาร อย่าลืมตั้งสติแล้วเช็กตัวสะกด URL ให้ดี หากสะกดผิดหรือแปลกไปจากเดิม = เว็บปลอม 100%
💢 LINE OA : หาก LINE ธนาคารไม่มีเครื่องหมาย Verify ให้เราเอ๊ะในใจได้เลย และถ้าส่งลิงก์ให้คลิกหรือโหลดแอปก็จัดการบล็อกทันทีและห้ามคลิกอะไรเด็ดขาดนะคร้าบบ
💢 Call Center : หากปลายสายพูดจาข่มขู่ – ขอรหัส OTP – โน้มน้าวให้โอนเงิน – โน้มน้าวให้โหลดแอป เจอแบบนี้รีบวางสายด่วน ไม่ควรแกล้งคุยต่อเพราะอาจติดกับมิจฉาชีพได้
.
ว่าแต่…ถ้าเผลอติดกับมิจฉาชีพไปแล้ว ควรติดต่อธนาคารโดยเร็วที่สุดและแจ้งความทันที! โดยแจ้งได้ทั้ง
👉🏻 แจ้งความจากสถานีตำรวจในท้องที่
👉🏻 แจ้งความออนไลน์ที่ www.thaipoliceonline.com
👉🏻 หรือหากสงสัยก็สามารถโทรปรึกษาตำรวจไซเบอร์ ที่ 1441 หรือ 081-866-3000 ได้เลยคร้าบบ 💚
.
แล้วอย่าลืมมาเสริมภูมิคุ้มกันด้วยทักษะดิจิทัลกับ AIS อุ่นใจ CYBER ที่ https://learndiaunjaicyber.ais.co.th/ จะเจอมุกไหนก็ไม่เป็นเหยื่อมิจฉาชีพแน่นอนคร้าบบ
งานพ่อขุนเม็งรา…
วันที่ 18 ธันวา…
สถานคุ้มครองสวั…
เมื่อวันที่ 15 …