มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ร่วมพัฒนาครูมัธยมศึกษาตอนต้นใน จ.เชียงราย รองรับการเปลี่ยนแปลงสู่ศตวรรษที่ 21
วันที่ 15 กันยายน 2566 ที่อาคารพลเอกสำเภา ชูศรี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) จ.เชียงราย นางภัทราวดี สุทธิธนกูล รองผู้ว่าราชการ จ.เชียงราย เป็นประธานในพิธีนำเสนอผลงานตาม “โครงการพัฒนาครูมัธยมศึกษาตอนต้นใน จ.เชียงรายให้เป็น Learning Coach ผ่านการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ขับเคลื่อนด้วยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community:PLC) เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสู่ศตวรรษที่ 21” โดยโครงการมีระยะเวลาดำเนินกทร 1 ปี ตั้งแต่เดือน ต.ค.2565–ก.ย.2566 มีกลุ่มเป้าหมายเป็นครูมัธยมศึกษาตอนต้นจาก 50 โรงเรียน จากเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย และเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายตั้งแต่เขต 1-4 รวม จำนวน 150 คนเข้าร่วม โดยที่ผ่านมามีการจัดฝึกอบรม การจัดรูปแบบการเรียนการสอนที่ทันสมัยและก้าวทันต่อเทคโนโลยี ฯลฯ
จากนั้นจัดประกวดผลงานทางวิชาการและคัดเลือกมอบรางวัลให้แก่ผู้ชนะเลิศระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับจังหวัด ก่อนเปิดโอกาสให้ครูที่ชนะเลิศนำผลงานมานำเสนอจำนวน 5 คน ซึ่งล้วนเป็นผู้ที่มีผลงานเลิศด้านการจัดการเรียนการสอนแบบใหม่ คือว่าที่ ร.ต.เกศยา กล้าณรงค์ จากโรงเรียนร่องธารวิทยา อ.พาน จ.เชียงราย ซึ่งเป็นผลงานด้านการสอนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ชั้นสูง น.ส.ศิรินทิพย์ สกิจกัน โรงเรียนบ้านราษฎร์ภักดี อ.เทิง จ.เชียงราย ซึ่งนำเสนอเทคนิคการสอนวิชาศิลปะ (นาฎศิลป์) การสอนแบบเกมการสอนเพื่อพัฒนาความกล้าแมดงออกที่มีผลต่อการเรียน นายกิตติพล นิธิเบญจพล จากโรงเรียนบ้านด้ายเทพกาญจนาอุปภัมภ์ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ซึ่งเป็นผลงานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องกิจวัตรในชีวิตประจำวันเพื่อพัฒนาการสื่อสารด้วยภาษาจีน น.ส.อภิญญา ไชยลังการ โรงเรียนห้วยซ้อวิทยาคม รัชมังคลาภิกเษก อ.เชียงของ จ.เชียงราย นำเสนอการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสอนเพือการสื่อสาร และ น.ส.สาวินีย์ หมื่นลาง โรงเรียนบ้านปางขอน อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย นำเสนอการพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ผศ.ดร.มัชฌิมา นราดิศร อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กล่าวบรรยายพิเศษเรื่อง “การพัฒนาครูในบริบทที่เปลี่ยนไป” ว่าปัจจุบันสังคมอยู่ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงโดยมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย และผู้เรียนหรือนักเรียนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีจนสามารถสืบค้นข้อมูลได้เองโดยเฉพาะผ่านระบบอินเตอร์เน็ต นอกจากนี้สภาวะของโลกเกิดความผันผวนและไม่แน่นอนขึ้นหลายเรื่อง เช่น บางครั้งเกิดไวรัสโควิด-19 ระบาด ฯลฯ ซึ่งสภาวะะนี้เรียกว่า VUCA World หรือความผันผวนของโลก ดังนั้นครูจึงต้องปรับตัวให้ได้เพื่อสอนลูกศิษย์ให้เรียนรู้ได้ตามเป้าหมาย โดยใช้วิธีการหาโอกาส ใช้ระบบดิจิตอลให้ได้ และกำหนดวิธีคิดหรือ Mindset ใหม่โดยอย่ายึดติดว่าเรามีความรู้อยู่แล้วแต่ให้เพิ่มการศึกษาสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอเพื่อให้เท่าทันด้วย
ผศ.ดร.มัชฌิมา กล่าวด้วยว่า มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาครูใน จ.เชียงราย เพราะดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2549 โดนช่วยพัฒนาเทคนิคการสอนของครู การสร้างสื่อการสอนที่ทันสมัยตรงกับความต้องการของผู้เรียน การพัฒนาเนื้อหาในทุกกลุ่มสาระวิชา พร้อมทั้งการเสริมทักษะและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่ครูผู้สอนและผู้เรียน ฯลฯ และได้มีกาต่อยอดในปี 2566 อย่างต่อเนื่องเพื่อให้การศึกษามีคุณภาพและมีความสามารถไม่ด้อยจังหวัดอื่นๆ อย่างแน่นอน
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับการเข้าไปร่วมกับโรงเรียนท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มีขึ้นตั้งแต่ประมาณ 25 ปีก่อน เมื่อครั้งที่ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.วันชัย ศิริชนะ นายกสภามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ยังเป็นอธิการบดี เนื่องจากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ประสบปัญหานักเรียนที่เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ไม่สามารถปรับตัวหรือเรียนรู้ได้กับการเรียนการสอนในระดับมหาวิทยาลัย ทั้งๆ ที่มีผลการเรียนที่ดี ทำให้ทางมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เริ่มมีโครงการต่างๆ ที่เข้าไปร่วมกับสถาบันการศึกษาและองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาและยกระดับนักเรียนให้สามารถเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยได้จนถึงปัจจุบัน.
งานพ่อขุนเม็งรา…
วันที่ 18 ธันวา…
สถานคุ้มครองสวั…
เมื่อวันที่ 15 …