ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง ครบ 25 ปี ผู้โดยสารเพิ่ม10% อีก2ปีเปิดศูนย์ซ่อมใหญ่สุดในประเทศ
วันที่ 2 ตุลาคม 2566 นาวาอากาศตรีสมชนก เทียมเทียบรัตน์ ผู้อํานวยการท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย พร้อมด้วย นางแสงเดือน อ้องแสนคํา รองผู้อํานวยการท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ด้านสนับสนุนธุรกิจ และนายสิทธิปัฐพ์ มงคลอภิบาลกุล รองผู้อํานวยการท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ด้านปฏิบัติการและบํารุงรักษา จัดงานครบรอบการดําเนินงานของท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ครบ 25 ปี โดยภาคเช้ามีการทำบุญ และแถลงผลการดำเนินการครบรอบ 1 ปี ตั้งแต่ ต.ค.2565 ถึง ก.ย.2566 ที่ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ตั้งอยู่ อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย
โดยนาวาอากาศตรีสมชนก เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลา 1 ปี มีเที่ยวบินไปใช้บริการเฉลี่ยวันละ 32 เที่ยวบิน และตลอดทั้งปีมีรวมกัน 11,813 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 10% มีผู้โดยสารเฉลี่ย 4,959 คนต่อวัน ในปัจจุบันท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย มีสายการบินที่ให้บริการจํานวน 5 ราย โดยทำการบินภายในประเทศทั้งหมด คือ สายการบินไทยสมายล์แอร์เวย์ เส้นทางเชียงราย-สุวรรณภูมิ วันละ 3 เที่ยวบิน สายการบินไทยเวียตเจ็ทแอร์ เส้นทางเชียงราย-สุวรรณภูมิ วันละ 3 เที่ยวบิน และเส้นทางเชียงราย-ภูเก็ต วันละ 2 เที่ยวบิน สายการบินไทยแอร์เอเชีย เส้นทางเชียงราย-ดอนเมือง วันละ 4 เที่ยวบิน สายการบินนกแอร์ เส้นทางเชียงราย-ดอนเมือง วันละ 2 เที่ยวบิน และสายการบินไลอ้อนแอร์ เส้นทางเชียงราย-ดอนเมือง วันละ 3 เที่ยวบิน ทั้งนี้ภายหลังมีการเปิดฟรีวีซ่าให้กับคนจีน และชาวคาซัคสถาน คาดว่าจะทำให้มีแนวโน้มผู้โดยสารและสายการบินจากประเทศจีนเพิ่มเติมอีกได้ นอกจากนี้ล่าสุด ตนและผู้บริหารได้เดินทางไปยังเมืองอินชอน ประเทศเกาหลีใต้ เพื่อชักชวนสายการบินจากเกาหลีใต้แบบเช่าเหมาลำให้ไปเยือน จ.เชียงราย แล้ว
นาวาอากาศตรีสมชนก กล่าวอีกว่า ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย สามารถรองรับผู้โดยสารได้ปีละประมาณ 2 ล้านคน ดังนั้นเพื่อให้สามารถรองรับปริมาณการจราจรทางอากาศที่เพิ่มขึ้นและเพิ่มความสะดวกสบายในการให้บริการจึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาอีกหลายกหลายโดยโครงการช่วงที่ 1 ระหว่างปี 2568-2571 ได้แก่การก่อสร้างระบบทางขับขนานด้านทิศเหนือและปรับปรุงทางขับทายหลุดจอด ปรบปรุงพื้นี่หัวทางวิ่ง ขยายถนนทางเข้าออก ก่อสร้างอาคารรัรบรองบุคคลสำคัญและอาคารสำนักงานรวมทั้งอาคารบำรุงรักษาอากาศยาน
ส่วนโครงการที่มีภาคเอกชนเข้าไปดำเนินการคือศูนย์ซ่อมอากาศยาน (Maintenance,Repair and Overhaul:MRO) ซึ่งเป็นความร่วมมือของเอกชนคือบริษัทเชียงราย เอเวชั่น โฮลดิ้ง จำกัดและ Aviation Industry Corporation of China (AVIC) จากประเทศจีน ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือ EIA คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน ต.ค.นี้ และจะสามารถก่อสร้างได้ภายในปี 2566 จากน้้นเวลาก่อสร้างต่อเนื่องอีก 2 ปีคือ 2467-2568 เพื่อเปิดใช้งานเป็นศูนย์ซ่อมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศได้ต่อไป ทั้งนี้ช่วงแรกจะเป็นการซ่อมด้านโครงสร้างโดยสามารถรองรับเครื่องบินแอร์บัส 320 ที่มีใช้กันมากที่สุดซึ่งก็จะทำให้เชียงรายเป็นศูนย์กลางของการให้บริการซ่อมอากาศยานในภูมิภาคนี้ได้ต่อไป
“นอกจากนี้ยังมีโครงการขนส่งสินค้าทางอากาศ Air Cargo Hub เพื่อให้การช่วยเหลือในการกระจายสินค้่าทางการเกษตรให้เกษตรกรใน จ.เชียงราย และ จ.พะเยา โดยให้ผู้โดยสาร 1 คน สามารถโหลดผลไม้ของเกษตรกรลงกล่องบรรจุภัณฑ์ของกรมการค้าภายใน 10 กิโลกรัมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) จ.เชียงราย ในการพัฒนาอุตสาหกรรมการบินร่วมกัน รวมทั้งตนได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประธานคณะทํางาน Asia/Pacific Aerodrome Assistance Design and Operations Task Force (AP-ADO/TF) ต่ออีกหนึ่งวาระจนถึงปี 2569 โดยมีวาระ 4 ปี ดังนั้นในปี 2567 ท่าอากาศแม่ฟ้าหลวง เชียงราย จะได้เป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุม AP-ADO/TF ครั้งที่ 5 ฯลฯ” ผู้อำนวยการท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย กล่าว.
งานพ่อขุนเม็งรา…
วันที่ 18 ธันวา…
สถานคุ้มครองสวั…
เมื่อวันที่ 15 …