ทั่วไป

เฝ้าระวังภัยออนไลน์

แชร์ข่าว

กระทรวงดิจิทัลฯ ระดมทุกภาคส่วนเฝ้าระวังภัยออนไลน์ภายใต้หัวข้อ “คดีภัยออนไลน์” ที่จังหวัดเชียงราย

วันที่ 5 ตุลาคม 2566 นางสาวพิยะดา สุดกังวาล รักษาการที่ปรึกษาด้านการสื่อสาร เป็นประธานในพิธีเปิดการจัดงานสัมมนาสำหรับประชาชนทั่วไป ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เครือข่ายเฝ้าระวังภัยออนไลน์ภาครัฐและเอกชน ในหัวข้อ “คดีภัยออนไลน์” โดยมี นางสาวธนิสสรา ลิ้นสุวรรณ ผู้อำนวยการกลุ่มประสานงานด้านกฎ ระเบียบ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พลังงานจังหวัดเชียงราย ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมจำนวนมาก โดยจัดขึ้นที่ โรงแรมไดมอนด์ปาร์คอินน์เชียงราย อำเภอเมืองจังหวัดเชียงราย  เพื่อสร้างการตระหนักรู้ เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจถึงแนวทางการป้องกันภัยออนไลน์ต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องการหมิ่นสถาบันจนทำให้เกิดความแตกแยก และส่งผลกระทบต่อประชาชนในสังคม โดยมีการบรรยาย ในรูปแบบ On-site ซึ่งมีผู้ที่สนใจเข้าร่วมสัมมนา จำนวน 130 คน และในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Video Conference มีผู้เข้าร่วมสัมมนา จำนวน 160 คน

นางสาวพิยะดา สุดกังวาล รักษาการที่ปรึกษาด้านการสื่อสาร กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า ความสำคัญของ “คดีภัยออนไลน์” ภายใต้โครงการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการช่วยเหลือประชาชนด้านคดีและภัยออนไลน์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มีความสำคัญอย่างยิ่ง การจัดสัมมนาในครั้งนี้เพื่อสร้างการตระหนักรู้ เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ถึงแนวทางการป้องกันภัยออนไลน์ และเพิ่มความปลอดภัยไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพที่กระทำผิดต่อกฎหมายบนโลกออนไลน์ที่อาจส่งผลกระทบต่อประชาชน ในวิธีการที่ถูกต้อง จึงจำเป็นต้องมีการสร้างความรู้ความเข้าใจ เพื่อให้สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ 

ด้าน นางสาวธนิสสรา ลิ้นสุวรรณ ผู้อำนวยการกลุ่มประสานงานด้านกฎ ระเบียบ ได้กล่าวอีกว่า การจัดงานสัมมนาสำหรับประชาชนทั่วไป ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เครือข่ายเฝ้าระวังภัยออนไลน์ภาครัฐและเอกชน ของกองป้องกันและปราบปราม การกระทำความผิดทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ว่า ในสภาวะ ปัจจุบันมีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศจำนวนมาก โดยในปี พ.ศ. 2565 – ปัจจุบัน มีจำนวนคดีออนไลน์ ที่ต้องการให้กระทรวงดิจิทัลฯ ตรวจสอบ จำนวน 32,000 เรื่อง เช่น การหลอกลวง การปลอมแปลง การโพสต์กลั่นแกล้ง การโพสต์ข้อความเพื่อเกิดความวุ่นวายในสังคม (Fake News) การขายของที่ผิดกฎหมายในโลกออนไลน์ การละเมิดลิขสิทธิ์ สื่อลามกอนาจาร การสร้างแอปพลิเคชันปลอมเพื่อหลอกลวง โดยเฉพาะการหมิ่นสถาบันจนทำให้เกิดความแตกแยก

และส่งผลกระทบต่อประชาชนในสังคม ซึ่งมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงและก่อให้เกิดความเสียหายเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ การสร้างการตระหนักรู้ เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ถึงแนวทางการป้องกันภัยออนไลน์ ให้กลุ่มเป้าหมาย และเพิ่มความปลอดภัยไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพที่กระทำผิดต่อกฎหมายบนโลกออนไลน์ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการจัดสัมมนาสำหรับประชาชนทั่วไป ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เครือข่ายเฝ้าระวังภัยออนไลน์ภาครัฐและเอกชน ในหัวข้อ “คดีภัยออนไลน์” เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์และเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ อันจะทำให้เกิดแนวทางป้องกันและรักษาความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ได้ดียิ่งขึ้นเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่องค์ความรู้แนวทางการป้องกันระวังคดีภัยออนไลน์ ไปสู่กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวให้ครอบคลุมมากที่สุด…

Kao Krai News

Recent Posts