วันที่ 11 เมษายน 2567 นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ได้มอบหมายให้ ว่าที่ ร.ต.ศราวุธ จันทวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วยนายธนะสิทธิ์ ศรีคำภา หัวหน้าสำนักงานจังหวัดเชียงราย และเจ้าหน้าสำนักงานจังหวัดเชียงราย เข้าร่วมพิธีเปิดงาน “เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ Maha Songkran World Water Festival 2024” ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-15 เมษายน 2567 ณ บริเวณถนนราชดำเนินกลางและท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร
รัฐบาล โดยกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมฉลองในโอกาสที่ “ประเพณีสงกรานต์” ของประเทศไทยที่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม “ที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ” จากองค์การยูเนสโก (UNESCO) จึงจัดงาน “มหกรรมเย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์” (Maha Songkran World Water Festival 2024) ที่จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ ในระหว่างวันที่ 11-15 เมษายน 2567 โดยนำเสนอภาพลักษณ์ความสวยงามของประเพณีสงกรานต์ไทย ด้วยขบวนรถพาเหรดมหาสงกรานต์กว่า 20 ขบวน อาทิ ขบวนรถพระพุทธรูป ขบวนรถเทพีสงกรานต์ ประจำปี 2567 “มโหธรเทวี” เสด็จไสยาสน์ลืมเนตรเหนือหลังนกยูง ขบวนรถพาเหรด 16 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ขอนแก่น ชลบุรี สมุทรปราการ นครศรีธรรมราช เชียงราย หนองคาย พิษณุโลก สงขลา บุรีรัมย์ พระนครศรีอยุธยา นครพนม ลำปาง เลย สุโขทัย และจังหวัดภูเก็ต พร้อมมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมจากนักแสดง และผู้ร่วมขบวนแห่กว่าพันคน และยังมีการจัดกิจกรรมนำเสนอศิลปวัฒนธรรมไทย อัตลักษณ์ประเพณีสงกรานต์ 5 ภูมิภาค และ Soft Power ไทย
จังหวัดเชียงรายจึงนำเสนอขบวนพาเหรดภายใต้แนวคิด “เชียงรายเมืองแห่งสีสัน ชาติพันธุ์และเมืองแห่งศิลปะร่วมสมัย” โดยถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของ ขบวนสงกรานต์แบบร่วมสมัยบ่งบอกถึงความหลากหลายของผู้คนในจังหวัดเชียงราย ผ่านสีสันของเสื้อผ้าที่ออกแบบและตัดเย็บโดยได้รับแรงบันดาลใจจากชาติพันธุ์ในจังหวัดเชียงราย กว่า 32 ชาติพันฐ์ ประสานความเป็นเมืองแห่งศิลปะระดับโลก ทำให้ขบวนมหาสงกรานต์ของเชียงรายมีความสดใสสนุกสนานด้วยสีสันของเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายและบทเพลงประกอบจังหวะที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเสียงเพลงของพี่น้องชาติพันธุ์ ในจังหวัดเชียงราย รวมถึงประติมากรรมบนขบวนรถที่ใช้สัญลักษณ์ธิดาแห่งขุนเขา หรือแองเจิลออฟ เดอะฮิลล์สวมใส่เครื่องประดับที่นำมาจากหลายหลายชาติพันธ์ในจังหวัดเชียงราย กลายเป็นขบวน carnivalสงกรานต์ที่แปลกใหม่ ศิลปินต้องการนำเสนอความร่วมสมัยของขบวนแห่สงกรานต์ เพื่อต้อนรับและตอกย้ำความเป็นเมืองสร้างสร้างสรรค์หรือครีเอทิฟซิตี้ ที่ได้รับการยกย่องจากยูเนสโกเมื่อปลายปีที่ผ่านมา รวมถึงเป็นการประชาสัมพันธ์ การเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติไทยแลนด์เบียนนาเล่เชียงราย 2023 ที่กำลังจัดอยู่ถึงวันที่ 30 เมษายน 2567 นี้
ทั้งนี้การประกวดขบวนพาเหรดของจังหวัดเชียงรายได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ส่วนรางวัลชนะเลิศตกเป็นของจังหวัดเลย รองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ จังหวัดลำปาง และรางวัลชมเชย ได้แก่ จังหวัดหนองคาย และจังหวัดบุรีรัมย์ อีกทั้งการจัดงานประเพณีสงกรานต์เถลิงศกใหม่ไทยมีการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ทั่วประเทศ ตลอด 21 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 – 21 เมษายน 2567 ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) คาดการณ์ว่าจะทำให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศประมาณ 15.03 ล้านคน/ครั้ง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดรายได้ทางการท่องเที่ยวในประเทศกว่า 52,500 ล้านบาท.
งานพ่อขุนเม็งรา…
วันที่ 18 ธันวา…
สถานคุ้มครองสวั…
เมื่อวันที่ 15 …