วันที่ 18 เมษายน 2567 นายอุดม ปกป้องบวรกุล นายอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย นางสุกัญญา ที่ปรึกษา นายกเทศมนตรีตำบลเวียงเชียงของ นายมนตรี ชัยกิจวัฒนะ ประมงจังหวัดเชียงราย และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งชาวอำเภอเชียงของ ร่วมประกอบพิธีบวงสรวงปลาบึก ณ ลานหน้าวัดหาดไคร้ เทศบาลตำบลเวียงเชียงของ ร่วมกับ บ้านหาดไคร้ หมู่ 7 ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ พร้อมปล่อยพันธุ์ปลาที่ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานประมงจังหวัดเชียงราย 20,000 ตัว ลงแม่น้ำโขง
นางสุกัญญา ที่ปรึกษา นายกเทศมนตรีตำบลเวียงเชียงของ กล่าวว่า พิธีบวงสรวงปลาบึก อดีตเป็นประเพณีที่ชาวอำเภอเชียงของได้ถือปฏิบัติกันมายาวนาน เป็นวิถีชีวิตของชาวบ้านที่ผูกพันกับสายน้ำโขง โดยก่อนที่จะมีการจับปลาบึก หรือการออกล่าปลาบึก ต้องทำพิธีก่อน แต่ปัจจุบันได้มีการประกาศเลิกล่าปลาบึก เพื่อต้องการให้ปลาหมึกในแม่น้ำโขงได้อยู่อย่างสงบ ไม่มีผู้ใดมารบกวน เพราะปลาบึกถือว่าเป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก จึงควรที่จะมีการอนุรักษ์ปลาบึกแม่น้ำโขงให้อยู่คู่แม่น้ำโขงตลอดไป
แต่การจัดพิธีบวงสรวงปลาบึก ก็ยังถือปฏิบัติสืบทอดกันมา เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจ ความเป็นสิริมงคล และโชคลาภแก่ชาวประมงในการออกหาป่าในแม่น้ำโขงชนิดอื่น ๆ ตลอดจนเป็นการรักษาซึ่งไว้ประเพณี ที่เคยปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นประจำทุกปี
นายอุดม ปกป้องบวรกุล นายอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย กล่าว่า ในเรื่องของพิธีบวงสรวงปลาบึก เป็นประเพณีที่ชาวอำเภอเชียงของ ได้ถือปฏิบัติกันมายาวนาน ซึ่งทางอำเภอเชียงของ มีพื้นที่ติดแม่น้ำโขงที่ชาวเชียงของผูกพันมานาน โดยเฉพาะการประกอบอาชีพประมง และแม่น้ำโขงยังเป็นแหล่งของปลาบึก ปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุด และสามารถพบได้ที่อำเภอเชียงของเพียงแห่งเดียวเท่านั้น ในการจัดงานครั้งนี้ มีกิจกรรมที่แสดงออกถึงการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อการบวงสรวงปลาบึก ก่อนออกหาปลาเพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการดำรงชีพ แม้ปัจจุบันและมีการประกาศยกเลิกการจับปลาบึกไปแล้ว แต่ก็ยังรักษาซึ่งประเพณี ต้องขอขอบคุณทางเทศบาลตำบลเวียงเชียงของ ที่ได้อนุกรักษ์ประเพณีนี้เอาไว้.
งานพ่อขุนเม็งรา…
วันที่ 18 ธันวา…
สถานคุ้มครองสวั…
เมื่อวันที่ 15 …