วันที่ 19 พฤษภาคม 2567 นายนิยม สุวรรณประภา หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) พร้อมพนักงานและลูกจ้างสำนักงาน ได้จัดประกอบพิธีทางศาสนาเนื่องในโอกาส ครบรอบการก่อตั้ง “กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร” 25 ปี ณ วัดเจ็ดยอด (พระอารามหลวง) อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
นายนิยม กล่าวว่า กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. 2542 มีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2542 และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. 2542 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2544 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3 ) พ.ศ.2563 โดยมีวัตถุประสงค์และหน้าที่หลัก ได้แก่ ส่งเสริมและสนับสนุนการรวมกลุ่มของเกษตรกรในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร ส่งเสริมและสนับสนุนการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมของเกษตรกร พัฒนาความรู้ในด้านเกษตรกรรมหรือกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับเกษตรกรรมเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรเกษตรกร พัฒนาศักยภาพในการพึ่งพาตนเองและเกื้อกูลซึ่งกันและกันระหว่างเกษตรกรกร และแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรในระบบอันเนื่องมาจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งเป็นสมาชิกขององค์กรเกษตรกร
นายนิยม กล่าวว่าสำนักงาน กฟก.สาขาจังหวัดเชียงราย มีผลการปฎิบัติงาน ตามภารกิจ ดังนี้
ด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
1. การขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกร จำนวน 2,587 องค์กร สมาชิก จำนวน 163,176 ราย
2. การอนุมัติงบประมาณประเภทงบกู้ยืม จำนวน 45 โครงการ สมาชิกเข้าร่วมโครงการ จำนวน 860 ราย จำนวนเงิน 13,305,149.00 บาท
3. การอนุมัติงบประมาณประเภทงบอุดหนุน จำนวน 300 โครงการ สมาชิกเข้าร่วมโครงการ จำนวน 9,347 ราย จำนวนเงิน 9,276,865.00 บาท
ด้านการจัดการหนี้ของเกษตรกร
1. การขึ้นทะเบียนหนี้เกษตรกร จำนวน 18,437 ราย 23,456 สัญญา จำนวนเงิน 2,341,581,431.53 บาท
2. การชำระหนี้แทนเกษตรกร จำนวน 422 ราย 430 สัญญา จำนวนเงิน 145,977,703.78 บาท
3. การโอนหลักทรัพย์ค้ำประกัน เป็นของกองทุนฯ จำนวน 484 แปลง เนื้อที่รวม จำนวน 1,694 ไร่ 48 ตารางวา
4. การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน คืนให้เกษตรกร จำนวน 161 ราย โฉนดที่ดิน จำนวน 248 แปลง เนื้อที่รวม จำนวน 926 ไร่ 2 งาน 62 ตารางวา
5. การดำเนินการตามโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิก กฟก. ลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 22 มีนาคม 2565 และวันที่ 14 มีนาคม 2566 กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 1,443 ราย รายงานตัวแสดงความประสงค์ เข้าร่วมโครงการ 1,016 ราย คิดเป็นร้อยละ 93.90
6. การจัดทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ฯ ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 22 มีนาคม 2565 และวันที่ 14 มีนาคม 2566 สถาบันเจ้าหนี้ ธ.ก.ส. กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 1,422 ราย เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 1,007 ราย โดย ธ.ก.ส.จัดทำสัญญาฯ เรียบร้อยแล้ว จำนวน 455 ราย.
งานพ่อขุนเม็งรา…
วันที่ 18 ธันวา…
สถานคุ้มครองสวั…
เมื่อวันที่ 15 …