วันที่ 20 มิถุนายน 2567 ที่เรือนจำกลางเชียงราย ต.ดอยฮาง อ.เมือง จ.เชียงราย นายพัศพงศ์ ใจคล่องแคล่ว ผู้บัญชาการเรือนจำกลางเชียงราย ได้จัดพื้นที่ส่วนหน้าของเรือนจำกลางเชียงราย ซึ่งเป็นบริเวณประตูทางเข้าเรือนจำกลางเชียงราย ให้เป็นร้านกาแฟแห่งใหม่ ที่ชื่อ “หับเผยคาเฟ่ BY กลางเชียงราย” และ คาร์แคร์ล้างรถ ที่ชื่อ “หับเผย คาร์แคร์ BY กลางเชียงราย” โดยสถานที่ทั้ง 2 อยู่ติดกัน มีร่มเงาจากต้นไม้ขนาดใหญ่ที่เย็นสบาย
นายพัศพงศ์ ใจคล่องแคล่ว ผู้บัญชาการเรือนจำกลางเชียงราย กล่าวถึงที่มาของชื่อร้านกาแฟ “หับเผย” ว่า คำว่า “หับเผย” เป็นภาษาโบราณ ที่อดีตเจ้าหน้าที่จะเข้าออกเรือนจำ หรือเรียกง่าย ๆ ว่า “คุก” มาตอนเช้าก็จะมาเปิดประตูเราจะเรียกว่า “เผย” และเมื่อถึงเวลาเลิกงานก็จะปิดประตูเรือนจำ ซึ่งจะเรียกว่า “หับ” จึงเป็นที่มาของคำว่า “หับเผย”
สำหรับที่มาของการเปิดร้านบริการทั้ง 2 แห่ง คือร้านกาแฟ “หับเผย” และ คาร์แคร์ “หับเผย” เพื่อเป็นการฝึกวิชาชีพผู้ต้องขังก่อนปล่อย โดยการจำแนกผู้ต้องที่มาฝึกวิชาชีพในสถานที่แห่งนี้ จะเป็นผู้ต้องขังชั้นกลางขึ้นไป คือเหลือโทษสูงไม่เกิน 3-5 ปี โดยทางเรือนจำจะคัดผู้ต้องขังหญิงมาทำการฝึกประสบการณ์การทำกาแฟ การบริการ ทั้งนี้ เรือนจำฯ ก็ทำการฝึกฝีมืออยู่เป็นประจำในเรือนจำ แต่เราได้เปิดโอกาสให้ได้ปฏิบัติจริง ซึ่งที่ผ่านมาได้รับสนับสนุนวิทยากรจากสถาบันการศึกษา มาทำการฝึกอาชีพให้กับผู้ต้องขังอยู่เป็นประจำ ทำให้กาแฟที่ “หับเผยคาเฟ่ BY กลางเชียงราย” มีราคาไม่สูงมากนัก เพราะถือว่าเป็นการฝึกวิชาชีพ ส่วนกาแฟที่นำมาบริการ มาจากแหล่งผลิตที่ได้มาตราฐาน เป็นวิสาหกิจชุมชนอำเภอแม่สรวย คือ ดอยช้าง
นายพัศพงศ์ ใจคล่องแคล่ว ผู้บัญชาการเรือนจำกลางเชียงราย นอกจากนี้ยังมี “หับเผย คาร์แคร์ BY กลางเชียงราย” ที่คอยให้บริการทุก ๆ คน ในราคาที่ไม่สูงมากนัก ซึ่งผู้ที่มาฝึกวิชาชีพจะเป็นผู้ต้องขังชาย โดยเปิดบริการตั้งแต่ 08.30-16.30 น. จึงอยากขอให้ทุก ๆ ท่าน ที่ผ่านไปมาบริเวณเรือนจำกลางเชียงราย ได้แวะเข้ามาใช้บริการล้างรถ ชิมกาแฟ ขนมที่หลากหลาย เพื่อเป็นการให้กำลังใจผู้ต้องขังทุก ๆ คน ที่พวกเขาต้องการโอกาสจากทางสังคมเมื่อพ้นโทษออกไป
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ทางเรือนจำกลางเชียงราย ยังได้จัดตั้งวงดนตรีขึ้นมา ที่มีชื่อวง “หับเผย แบนด์” ซึ่งจัดแสดงดนตรีสดให้กับนักท่องเที่ยวได้รับฟังเพลงเพาะ ๆ ในช่วงงานสำคัญต่าง ๆ รวมทั้ง การนำผลิตภัณฑ์งานทำมือ การปักผ้า การทำกระเป๋า จากฝีมือผู้ต้องขังชาย และหญิง ออกมาจำหน่ายด้วย.
งานพ่อขุนเม็งรา…
วันที่ 18 ธันวา…
สถานคุ้มครองสวั…
เมื่อวันที่ 15 …