นศ.มร.ชร.เก่งอีกแล้วจากคู่แข่ง 200 ราย เอกนวัตกรรมการออกแบบ ชนะเลิศ 2 รางวัล จากผลงาน “สักขาลาย– Obscure” ส่วนคหกรรมศาสตร์ – คหกรรมฯประยุกต์ รับรางวัลรองชนะเลิศและชมเชย Come Black และ “อาภรณ์นครโกศัย” งานการออกแบบเครื่องประดับ – เครื่องแต่งกาย จากสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ ที่เมืองน่าน ผู้ชนะเลิศจาก มร.ชร.ทั้งคู่โชคดีเป็นตัวแทนประเทศแข่งเวทีระดับโลกที่ ‘กรุงลอนดอน’ อังกฤษ 24-27 พ.ย.(61) นี้
ผศ.ดร.ศรชัย มุ่งไธสง อธิการบดี มหาวิทยาลัยรายภัฏเชียงราย (มร.ชร.) เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยมีนโยบายให้ทุกคณะ/สำนักวิชา/วิทยาลัย จัดการเรียนการสอนตามหลักสากลทั่วไป และใหัการช่วยเหลือประชาชนในด้านการพัฒนาท้องถิ่นด้วย โดยการนำ”ศาสตร์ของพระราชา” ของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 9 และพระราโชบาย ของ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาล ที่10 มาเป็นแนวทางการพัฒนา และนอกจากนี้ยังมีนโยบายให้ทุกคณะฯจัดการเรียนการสอน แบบ “ WIL” (Work Integrated Learning) หรือ “การจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน” ด้วย ซึ่งเป็นการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ที่ช่วยให้นักศึกษามีโอกาสในการประยุกต์ความรู้ ทักษะการทำงานก่อนสำเร็จการศึกษาและยังส่งเข้าประกวดด้านศาสตร์ต่างๆตามวิชาเอกที่นักศึกษาเรียน ที่ผ่านมาพบว่าแต่ละภาคเรียนมีนักศึกษาของมร.ชร.ได้รับรางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศทั้งในระดับภูมิภาคและระดับประเทศมากมาย อย่างเมื่อเร็วๆนี้ ก็มีนักศึกษา สำนักวิชาสังคมศาสตร์ และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มร.ชร. ได้รับรางวัลจาการแข่งขัน ถึง 4 รางวัล ทั้งชนะเลิศ รองชนะเลิศและชมเชย จากการแข่งขัน “การพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมแฟชั่นล้านนาตะวันออกสู่ต่างประเทศ” ที่จังหวัดน่าน เมื่อเร็วๆนี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีมาก
รศ.มาลี หมวกกุล ประธานโปรแกรมวิชาคหกรรมศาสตร์ สำนักวิชาสังคมศาสตร์ มร.ชร. กล่าวว่า ได้ร่วมกับ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มร.ชร. ส่งนักศึกษาในวิชาเอกคหกรรมฯทั้งสายครูและศิลปศาสตร์รวมทั้ง นศ.เอกนวัตกรรมการออกแบบ จากคณะเทคโนฯอุตฯ มร.ชร.ร่วมอบรมและประกวดผลงานด้วยจากโครงการ“พัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมแฟชั่นล้านนาตะวันออกสู่ต่างประเทศ”ที่ จังหวัดน่าน ผลปรากฏว่าเป็นที่น่ายินดีที่ นศ.เราทั้ง 2 คณะ ได้รางวัลชนะเลิศและรองฯ มาถึง 4 รางวัลด้วยความสามารถจริงๆ
ด้าน อ.ศมล สังคะรัตน์ อ.ประจำสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ ฐานะผู้นำนศ.เข้าประกวด เปิดเผยว่า ตนเองได้ส่งนศ.สาขาวิชาคหกรรมฯ ทั้ง 2 สาขา ร่วมกับ อ.รัชนิกร กุสลานนท์ อ.ประจำสาขานวัตกรรมการออกแบบ คณะเทคโนฯอุตฯ ได้ส่งนักศึกษาเข้าร่วมการประกวดการออกแบบแฟชั่น ในโครงการ“พัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมแฟชั่นฯ”มาตั้งแต่ต้นแล้วทั้งนี้เพื่อพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมแฟชั่นล้านนาตะวันออกให้สามารถแข่งขันได้ทั้งในระดับประเทศและต่อยอดไปจนถึงระดับสากล โดยการทำงานร่วมกันกับสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ 3 กิจกรรม ได้แก่ คลัสเตอร์อุตสาหกรรมแฟชั่นฯ การพัฒนาเครื่องประดับและผ้าทอล้านนาตะวันออกสู่ต่างประเทศ โดยทำงานร่วมกันของอุตสาหกรรมจังหวัด 4 จังหวัด คือ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน หรือ “กลุ่มล้านนาตะวันออก” อย่างเป็นระบบ รวมทั้งกำหนดยุทธศาสตร์สร้างมูลค่าเพิ่มรวมกว่า 80 รายการ กิจกรรรมนี้เป็นการสร้างนักออกแบบอุตสาหกรรมแฟชั่นล้านนาตะวันออก (Creative Eastern Lanna Award 2018)รุ่นใหม่ และยังมีการประกวดอีกด้วย ก่อนการประกวดได้อบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กว่า 200 ราย แล้วคัดเลือกนักออกแบบที่มีฝีมือนำเสนอแรงบันดาลใจใน Mood Board จนเหลือ 20 รายเพื่อแข่งขันชิงรางวัล” อ.ศมล กล่าว
ต่อมาเมื่อเร็วๆนี้ เมื่อ 12 ก.ย. (61) ที่ รร.ดิเอ็มเพรส จ.น่าน ทางโครงการฯได้จัดการประกวดผลงานขึ้น โดยมี นายไพศาล วิมลรัตน์ ผวจ.น่าน เป็นประธานเปิดและมอบรางวัลให้กับผู้ที่ได้รับรางวัล ทั้งนี้มีนักศึกษา มร.ชร. ได้รับรางวัลทั้งหมด 4 รางวัล จากผู้เข้าร่วมประกวดกว่า 200 คน จาก 4 จ. ภาคเหนือตอนบน โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1.ประเภทเครื่องประดับ และ 2.ประเภทสิ่งทอ (เครื่องแต่งกาย) ดังนี้
1. ประเภทเครื่องประดับ รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นายเอกลักษณ์ บุญปั๋น นศ.สาขาวิชานวัตกรรมการออกแบบ ชั้นปีที่ 4 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ชื่อผลงาน “สักขาลาย” ได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมโล่รางวัล
2. รางวัลประเภทสิ่งทอ (เครื่องแต่งกาย) ได้รับ 3 รางวัล รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ น.ส.เบญจมาศ บัวการ นศ.สาขาวิชานวัตกรรมการออกแบบ ชั้นปีที่ 4 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ชื่อผลงาน “Obscure” ได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมโล่รางวัล
รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ น.ส.ภาพตะวัน ขวัญธนวณิชย นศ.สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ประยุกต์ สำนักวิชาสังคมศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ชื่อผลงาน “Come Black” ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมโล่รางวัล
รางวัลชมเชยได้แก่ นายเขมราช ขอร้อง ชื่อผลงาน “อาภรณ์นครโกศัย” นศ.สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะครุศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ได้รับเงินรางวัลคนละ 5,000บาท
นอกจากนี้ ทางสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ ยังส่งเสริมให้ผู้ประกอบการและนักออกแบบสู่ตลาดต่างประเทศยังได้ โดยผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศสู่การแข่งขันในเวทีระดับโลก หากเป็นนักศึกษาจะสามารถไปแข่งขันต่อได้ในโครงการออกแบบ SDC International Design Competition 2018 ณ ประเทศอังกฤษ ในช่วงเดือนพ.ย. 2018
อ.รัชนิกร กุสลานนท์ อ.ประจำสาขานวัตกรรมการออกแบบ ฐานะผู้ฝึกซ้อม กล่าวว่า ได้ทำการคัดเลือกนศ.ที่เรียนเกี่ยวกับการออกแบบเข้าร่วมอบรมเพราะเชื่อว่าในอนาคต นศ.จะได้นำความรู้พัฒนาธุรกิจของตนเองได้ ซึ่ง นศ.ทั้ง 2 คน ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศครั้งนี้ จะได้เป็นตัวแทนของประเทศไทยเข้าร่วมโครงการ “SDC International Design Competition 2018: Grand Final.” ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร (อังกฤษ) ระหว่าง 24-27 พ.ย.(61)นี้อีกด้วย “ อ.รัชนิกร กล่าว
ด้าน นายเอกลักษณ์ บุญปั๋น รางวัลชนะเลิศ เครื่องประดับ สาขานวัตกรรมการออกแบบ กล่าวว่า ตนได้ความรู้ นวัตกรรมการออกแบบเครื่องประดับมากมายโดยนำเสนอเป็นสิ่งของตกแต่งบ้านจากลวดลายในรูปแบบสิ่งทอ เซรามิค จนชนะใจกรรมการจะนำความรู้สร้างผลงานต่อไป
ส่วน น.ส.เบญจมาศ บัวการ ชนะเลิศ ประเภทสิ่งทอฯ เครื่องแต่งกาย เอกเดียวกัน กล่าวว่า
รู้สึกกดดันเพราะไม่เคยประกวดที่ไหนมาก่อนเวทีนี้เป็นที่แรกการได้รางวัลครั้งนี้ทำให้คนอื่นได้เห็นว่าเรามีฝีมือมีศักยภาพอนาคตจะสร้างเอกลักษณ์การออกแบบแฟชั่นที่เป็นสไตล์ของตนเอง
///