กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดเชียงราย (กฟก.) รับภาระหนี้แทนเกษตรกร 7 แสนกว่าบาท หลังถูกสหกรณ์ฯยื่นฟ้องร้องดำเนินคดีต่อศาล
เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 นายนิยม สุวรรณประภา หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย (กฟก.) ได้ดำเนินการชำระหนี้แทนเกษตรกรอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย จำนวน 1 ราย ซึ่งเกษตรกรรายนี้ ได้ถูกสหกรณ์ฯ ฟ้องร้องดำเนินคดี ต่อศาลแล้ว เป็นเงินที่จ่ายชำระหนี้แทนเกษตรกร รวมจำนวนเงินทั้งสิ้น 759,091.61บาท แยกเป็นจำนวนเงินต้นคงค้าง 555,000 บาท ดอกเบี้ย 7.5% จำนวน 204,091.61 บาท โดยมีนายเสาร์ คำแดง ประธานกรรมการสหกรณ์ฯ และนางแสงสุนีย์ นุชัย ผู้จัดการใหญ่ สหกรณ์ฯเชียงแสน เป็นผู้รับเงิน และในขณะเดียวกันทาง ประธานกรรมการฯและผู้จัดการใหญ่ สหกรณ์ฯเชียงแสน ได้ส่งมอบโฉนดที่ดิน ซึ่งเกษตรกรได้นำไปเป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินกับสหกรณ์ฯเชียงแสน จำนวน 2 แปลง เนื้อที่รวม 1 ไร่ 26 ตารางวา ให้กับ นายนิยม สุวรรณประภา หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดเชียงราย เป็นผู้รับมอบโฉนดที่ดิน เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ต่อไป
นายนิยม เปิดเผยว่า การชำระหนี้แทนเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) เป็นไปตามมติคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเฉพาะกิจ (กฟก.) มีนายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานกรรมการ โดยมีเงื่อนไขชำระหนี้แทนเกษตรกร คือเงินต้นร้อยละ 100 ดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 7.5 ระยะเวลาการคิดดอกเบี้ยไม่เกิน 5 ปี จากเงินต้นค้างชำระ พร้อมทั้งค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี และค่าใช้จ่ายอื่นตามกฎหมายที่เกิดขึ้นจริง และในวันเดียวกันนี้ จะได้ดำเนินการโอนที่ดินหลักประกันตามกฎหมาย เป็นของ กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ณ สำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงราย สาขาเชียงแสน และเกษตรกรได้ทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินคืนกับ กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จำนวนเงิน 759,091.61บาท ระยะเวลาผ่อนชำระ 20 ปี โดยกองทุนฯคิดค่าบริการร้อยละ 1 ต่อปี และเกษตรกรต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพ ต่อไป
ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ และหน้าที่หลัก ตามพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ได้กำหนดบทบาทหน้าที่หลักไว้ คือ ส่งเสริมและสนับสนุนการรวมกลุ่มของเกษตรกร ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร ส่งเสริมและสนับสนุนการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมของเกษตรกร พัฒนาความรู้ในด้านเกษตรกรรมหรือกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับเกษตรกรรมเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรเกษตรกร พัฒนาศักยภาพในการพึ่งพาตนเองและเกื้อกูลซึ่งกันและกันระหว่างเกษตรกร และการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรในระบบอันเนื่องมาจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งเป็นสมาชิกองค์กรเกษตรกร โดยรัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาหนี้ของประชาชนและเกษตรกร สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เป็นหน่วยงานหนึ่งที่รัฐบาลใช้เป็นหน่วยงานในการแก้ไขปัญหาหนี้สินดังกล่าว
งานพ่อขุนเม็งรา…
วันที่ 18 ธันวา…
สถานคุ้มครองสวั…
เมื่อวันที่ 15 …